รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 3 (จบ)


Part 3: คิด และ มองอย่าง ศิลปิน

ศิลปินถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และ ความรู้สึกของพวกเขา ผ่านความสวยงาม พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจ จากสิ่งต่าง ๆ บนโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา และ พวกเขาก็เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับสิ่งต่าง ๆ อื่น ๆ ด้วย การออกแบบ website นั้นก็คือ ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองมาเรียบร้อยแล้วว่าเป็นประโยชน์, เป็นความคิดที่สื่อออกมาถึงผู้รับได้ และ ข้อมูลนั้นสามารถถ่ายทอด และ ดึงดูดเย้ายวนไปถึงผู้รับได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การออกแบบโครงร่างภายนอก คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถทางศิลป์ล้วน ๆ การคิดคำนึงถึงภาพที่เราจะออกแบบมาให้สวยงามวาด หรือ ออกแบบ อย่างไรออกมาให้สวยมันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำ แต่การนำมาใช้กับการทำ website นั้นมันต้องคิดลึกซึ้งไปกว่านั้น เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงแต่ภาพที่เราวาดออกมาเพียงเท่านั้น มันไม่ได้มีไว้เพื่อดูเพียงตาเปล่า หากทว่ามันมีส่วนที่จับต้องได้ นำไปใช้ต่อได้ เช่น ภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูล content ต่าง ๆ ที่เป็นตัวหนังสือที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อ เช่น เก็บไว้อ่านเก็บไปอ้างถึงได้

เพราะฉะนั้นเมื่อคุณจะต้องออกแบบ website คุณจะต้อง คิดและมองอย่าง นักเขียน เป็นอันดับแรก จากนั้นคุณต้องคิดและมองอย่าง วิศวกร และ ท้ายที่สุดถึงจะคิดและมองอย่าง ศิลปิน ทีนี้เราก็กลั่นกรองออกมาตาม sense ที่เราได้ลำดับความคิด และ เรียนรู้ใหม่ทั้งหมดของเราเลย เช่น สีสันหน้าตาเป็นอย่างไร การจัดวางตัวหนังสือ การกำหนดช่องว่างระหว่าง content จัดเรียงหน้าตาที่ user จะเข้ามาสัมผัสอย่างไรให้สวยงามเหมาะสมที่สุด ทำอย่างไรให้การแสดงผลของ website ของเรานั้นไม่ผิดเพี๊ยน ข้อมูลไม่มีการเสียหายเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และ/หรือ รูปร่างหน้าตา จะเห็นได้ว่ามันจะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ถ้าคุณยังมีความกลัวเกี่ยวกับ CSS หรือ ยังเข้าใจอะไรที่ผิด ๆ เกี่ยวกับ CSS อยู่ผมอยากให้ลองศึกษา และ ทดลองเล่นกับการออกแบบ website ด้วย CSS ดู ว่ามันง่ายกว่าหรือยากกว่าการ ออกแบบกับ Markup Presentation เพียว ๆ แบบเก่า ๆ ที่เราเคยทำ ๆ กัน (หรือ ทำกันอยู่ ณ ปัจจุบัน) ใช่มันอาจจะยุ่งยากในตอนนี้ อาจจะยังไม่มี Tools หรืออะไรที่มันสนับสนุนการทำงานในส่วนนี้มากนัก อาจจะต้องกลับมานั่งแหกตานั่งคิดนั่ง Coding เอง แต่ลองอ่านหนังสือ และ ลองฝึกดูครับอาจจะทำให้คุณสนุกมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้ (ฮ่าๆ งานมากกว่าเดิม ปวดกบาลกว่าเดิม) ลองตอบคำถามด้วยตัวเองดูว่าทำไมมันมีประโยชน์อย่างไร ทำไม? ถึงต้องบัญญัติ Web Standards ขึ้นมา ทำไม? ถึงสร้าง XHTML ขึ้นมา ทำไม? ต้องเกิด CSS ขึ้นมาแล้วทำไมมันถึงต้องทำงานร่วมกัน ทำไม? มันถึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลใน website นั้น ๆ ดีกว่าการออกแบบในแบบเก่า ทำไม? มันทำให้การใช้ bandwidth ลดลงไปมาก ลองหาคำตอบ และ พิสูจน์ด้วยตัวเองดู

เมื่อเรานำทั้งสามแนวคิดนี้ไปใช้

คุณจะรู้ว่าคุณควรจะวาง plan การทำ website ของคุณอย่างไร จะต้องมีอะไรบ้างใน website ของคุณ คุณจะจัดวางมันไว้ตรงไหน คุณจะทำมันออกมาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แนวคิดต่าง ๆ ของคุณจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ คุณจะ slice ภาพออกมาอย่างไร การวางแผน การจัดวาง การเรียบเรียงโครงสร้าง การเขียน coding ทำอย่างไรให้สวยทั้งภายใน และ ภายนอก จะเปลี่ยนรูปภาพให้เป็นตัวหนังสืออย่างไร เมื่อเราต้องการที่จะดูเฉพาะเพียง Outline (ปลด CSS ออกจากหน้า page นั้น ๆ) และ สุดท้าย คุณจะได้พบว่า website หนึ่ง ๆ มันจะต้องมีอะไรมากกว่าความสวยงามแค่ที่ตาเห็นแน่นอน

แล้วประโยชน์ที่มันเข็มขัดสั้น มันจะมาหาคุณโดยที่คุณไม่รู้เนื้อรู้ตัว !

Back to Top

5 Responses to รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 3 (จบ)

Leave a Reply to i-pum- Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top