เมื่อ Semantic กำลังใกล้เข้ามา (ภาค2)

จากครั้งก่อน ผมแนะนำสิ่งที่เรียกว่า Google-Apple Cloud ไปแล้ว เมื่อ Google มองการไกลถึงขนาดที่จะสร้าง Network ของ Super Computer (หรือ ที่เรียกว่า Cloud) วางไว้ทุกสารทิศทั่วโลกใบนี้ เพื่อเก็บข้อมูลทุก ๆ อย่าง เพื่อวาง Application ที่เราสามารถเข้าใช้ได้ทุกเมื่อ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะไม่จำเป็นต้องมี Standalone PC อยู่ที่บ้านเพื่อทำงาน เราไม่จำเป็นต้องลง OS และ Software ต่าง ๆ มากมาย เพียงแต่เข้าไปใน Google ก็จะมีสิ่งต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้เตรียมพร้อมรออยู่ คุณผู้อ่านที่เป็นแฟน ๆ ของ Google App น่าจะทราบดีว่ามันมีเพิ่มมาทุกวัน ทุกวัน ให้เราได้เลือก ได้ลองใช้ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นของฟรีที่ดีเยี่ยมหลาย ๆ อย่าง

ทีนี้เรามาดูกันว่า ทำไม Google ส่งผู้บริหารบางคน ไปอยู่ใน Board ของ Apple ทีนี้เรามามองดูกันว่า ทำไม Google ถึงอยากให้ Apple สร้าง Super Computer ให้ เพราะ Apple ขึ้นชื่อว่าเป็น บริษัทที่เข้าใจหลักกายภาพของ user มากที่สุด และ สามารถผลิตนวัตกรรมที่หักล้างสิ่งที่ใคร ๆ ต่างคิดว่า คงไม่มีใครจะทำมันได้ มาแล้วนักต่อนัก ผมเพิ่งถึงบางอ้อเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ (หลายท่านอ่านจะ อ้อ ก่อนผมมาหลายเดือนแล้วก็ได้) ว่าทำไมถึงมี iPhone และ ทำไมถึงมี MacBook Air ออกมา ผมคิดว่ามันเป็นอนาคต อนาคตอะไร อนาคตที่กำลังจะใกล้เข้ามา (อ้างอิงจาก บทความของ : Nicholas Carr) ถ้าสิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้เกิดขึ้นจริง นั่นหมายความว่า MacBook Air และ iPhone นั้นอาจจะทำมาเพื่อรอ Project นี้ก็ได้เป็นแน่แท้ เราไม่ต้องการอุปกรณ์อะไรมากมายอีก เพียงแค่อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเข้าไปยัง Account ที่เรามีอยู่ของ Google ไม่ต้องมีรูปร่างใหญ่มาก พกพาสะดวกสบาย ที่เก็บข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก เพราะว่าเรามีพื้นที่อยู่ในอากาศอยู่แล้ว (ต่อไปก็จะเกิดธุรกิจ ค้าขายพื้นที่บนอากาศ อากาศจะมีราคาแล้ว) เพียงแต่จ่ายค่าบริการรายเดือนเท่านั้นเอง ต่อไปพวก Computer ที่เป็น Standalone และ มีอุปกรณ์ และ Software ที่เพียบพร้อมนั้นอาจจะใช้เฉพาะกับงานเฉพาะทางเพียงเท่านั้น อาทิ การตัดต่อหนัง, การ render 3D และ งานหนัก ๆ ใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่ต้องกินทรัพยากรณ์ และ visual memory ที่ต้องเตรียมพร้อมหลาย ๆ อย่าง

จาก Website ที่เพียงแต่เก็บข้อมูลจาก Website นั้น Website นี้ไปทุกวันทุกวัน จากฐานข้อมูลที่เมื่อ 7 – 8 ปีก่อนคนมองว่ามันเป็นเศษขยะหามูลค่าไม่ได้ บัดนี้มันเป็นทุกคำตอบ เป็นทุกวัฒนธรรม เป็นต้นกำเนิดของหลาย ๆ สิ่ง Google คงไม่ได้เป็นเพียง Website, Application หรือ บริษัท ๆ หนึ่ง แต่ Google เป็นวิทยาศาสตร์ โมเดลต่าง ๆ ที่เราต่างคาดคิดว่า Google นั้นกำเนิดมาจาก โมเดล ทฤษฎี โครงสร้างแนวคิดที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ เหล่านั้น บัดนี้อาจจะไม่ใช่อีกแล้วก็ได้ ไม่ใช่ Psychology, ไม่ใช่ Ontology และ ไม่ใช่ Taxonomy

Semantic ของ Google มันอาจจะเกิดขึ้นง่าย ๆ

ด้วยหลักการง่าย ๆ นิดเดียว ก็คือ ไล่ตามเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของสิ่งที่มันเก็บเข้ามา ทำความเข้าใจกับ สิ่งที่อยู่ในฐานข้อมูลของมัน เช่น ตัวอย่างที่ผมเคยยกไว้เมื่อคราวที่แล้วว่า Google สามารถเข้าใจคำศัพท์คำว่า เด็กมหาวิทยาลัย ว่าตรงกับคำอะไรในภาษาอื่น ได้อย่างไร คิดง่าย ๆ ครับ Website มันมีนับไม่ถ้วนบนโลกใบนี้ ผมอาจจะทำ Website ที่สอนภาษา ไทย – อังกฤษก็ได้ หรือ เพื่อนผมที่ญี่ปุ่น อาจจะทำ Website สอนภาษา ญี่ปุ่น – อังกฤษ ก็ได้ … แล้วมันจะไปยากอะไรล่ะครับ ไม่ต้องไปรวมถึงข้อมูลสถิติ การศึกษาวิจัย ระบบ AI ชั้นเลิศของ Google นั้นฉลาดนัก ทีนี้ยังไงต่อ ลองมาคิดดูว่า ถ้า Google เอา ทฤษฎีต่าง ๆ มาช่วยทำให้ประสิทธิภาพของ Crawler ของมันทำงานได้ดีขึ้นล่ะ ไม่ใช่ สร้าง Crawler จากทฤษฎีเหล่านั้นนะครับ หมายถึง เขียน AI ให้ Crawler รู้จักพินิจ วิเคราะห์ พิจารณา เปรียบเทียบ ตามทฤษฎีเหล่านั้นล่ะ เช่น วันหนึ่ง ๆ คุณ​ Search หา แต่ข่าว กีฬา หรือ ผลิตภัณฑ์กีฬา ไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง ส่วนเรื่องอื่น ๆ อาจจะเพียงแค่ 3 – 5 ครั้งต่อวัน หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป กับการสังเกตุพฤติกรรมการใช้งานตัวมันของคุณ พอคุณกลับมาหามันอีกครั้งปุ๊บ ที่หน้าแรกมันอาจจะเตรียม สิ่งที่คุณชอบเข้าไปอ่าน หรือ สินค้ายี่ห้อที่คุณชอบเข้าไปดู ไปสั่งซื้อ รอไว้ให้คุณ​ Update แล้วก็ได้ หรือ มันอาจจะเปลี่ยน Theme ของ iGoogle ให้เข้ากบั life style ของคุณโดยอัตโนมัติ เลยก็ได้ถ้าคุณไม่ได้ตั้ง Theme ที่คุณชื่นชอบเอาไว้ พอจะเห็นราง ๆ บ้างไหมครับ ว่า Semantic มันจะอยู่ไกลอีกซักแค่ไหนเชียว

อาจจะเพียงไม่กี่เดือน หรือ ไม่เกิน 2 ปี เราอาจจะได้รู้จัก และ ได้ใช้งานมันแน่นอนสำหรับ Cloud ส่วน Semantic นั้น Google พร้อม และ รอคุณอยู่แล้ว คุณสามารถลองพิสูจน์ได้ด้วยตัวคุณเองโดยการทำตามสิ่งที่ W3 แนะนำไว้ ทีละนิดทีละหน่อยก็ได้ครับ เอาเท่าที่มีความสุขแล้วคุณจะเข้าใจว่า ทำไมต้องเขียน XHTML ให้ถูกต้อง ทำไมต้อง WCAG-WAI ทำไมต้อง CSS ทำไมต้อง XML ทำไมต้อง RDF ทำไมต้อง mod_reWrite และ อื่น ๆ ที่มันโยงใยกันไปเรื่อย ๆ

สุดท้ายขอบพระคุณ​ ICT ประเทศไทยที่เห็นความสำคัญของ WCAG และ ผู้พิการทางสายตา

Semantic กำลังใกล้เข้ามาโดยที่บางคนยังไม่คิดคำนึง เตรียมตัว ยังคงประมาทอยู่ อย่ารอให้มันสาย แล้วปรับตัวไม่ทัน ถึงขั้นต้องมานั่งปรับระบบ จัดระเบียบกันจนไม่เป็นอันทำมาหากินกันเลย มีความสุข กับการบริหาร ความสัมพันธ์ ของ ความสัมพันธ์ครับ

Back to Top

3 Responses to เมื่อ Semantic กำลังใกล้เข้ามา (ภาค2)

Leave a Reply to พร อันทะ Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top