10 ปัจจัยจิตวิทยาพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงก่อนออกแบบ UX (จบ)

กลับมาจบตอนสุดท้ายของบทความที่ผมใช้เวลานานพอสมควรในการเขียนให้อ่านกันนะครับ วันนี้อาจจะไม่ขออารัมภบทอะไรมากขอเข้าเรื่องต่อจากตอนที่แล้วไปเลยก็แล้วกันครับผม

ปัจจัยที่ 7: มนุษย์มักอยากรู้อยากเห็นเสมอ

โดยหลักๆ แล้วความอยากรู้อยากเห็นในมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากสารโดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ที่เซลล์สมองปล่อยออกมากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหิว ความต้องการทางเพศ และ ความอยากรู้อยากเห็น การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเซลล์สมองที่รับเอาสารเคมีตัวนี้ไปหล่อเลี้ยง ซึ่งเราทุกคนไม่สามารถควบคุมมันได้และทุกๆ คนก็ต่างต้องการอยากรู้เรื่องของคนอื่นๆ

มนุษย์ทุกคนต้องการ อยากรู้อยากเห็น ในทุกๆ เรื่องมากกว่าสิ่งที่ตัวเองเป็น รับรู้ หรือกระทำอยู่เพื่อที่จะทำให้ตัวเองนั้นรู้สึกว่า ฉันได้รับการยอมรับ ฉันมีทางเลือกที่มากกว่า และ ฉันจะได้มีชีวิตที่ดีกว่านี้แล้ว และมนุษย์ทุกคนนั้นต้องการ feedback เพราะฉะนั้น ระบบ ไม่จำเป็นต้องบอกว่ากำลังทำอะไรอยู่ แค่บอกให้ผู้ใช้งานรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเป็นลำดับต่อ หรือเมื่อเขาลงมือทำอะไรลงไปก็พอ นั่นก็จะสร้างความพึงพอใจหรือความรู้สึก อุ่นใจ ได้ว่าระบบนี้ เว็บไซต์นี้ สิ่งๆ นี้ไม่ได้ทำอะไรผิดปรกติกับฉันนะ

ปัจจัยที่ 8: สภาวะจิตไร้สำนึก

  • ปฏิกิริยาส่วนใหญ่ในร่างกายมนุษย์นั้น เกิดจากสภาวะจิตไร้สำนึก
  • เมื่อคุณสามารถเชื้อเชิญให้มนุษย์คนอื่นๆ ได้เริ่มทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว คนเหล่านั้นจะเริ่ม หรือกลับมาทำสิ่งต่อไปอย่างอัตโนมัติ อาทิ ถ้าคุณเชื้อเชิญให้เพื่อนสมัคร account facebook ได้แล้ว เพื่อนของคุณจะกลับมาพยายามเล่น facebook ให้ได้ภายในไม่เกิน 2 – 3 วันหรือ ณ เวลานั้นจนเสร็จสมอารมณ์อยากรู้แน่นอน
  • สมองส่วนกลางและก้านสมอง กับ สมองระดับอารมณ์หรือระบบลิมบิค (Limbic System) สองส่วนนี้เรียกว่า “Old Brain” เป็นส่วนสุดท้ายที่ใช้ในการตัดสินใจของมนุษย์ว่าจะเลือกอะไร สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้ตัดสินเกี่ยวกับ การดำรงค์ชีวิตและการสืบพันธุ์ ซึ่งก็คือสิ่งเหล่านี้ อาหาร เรื่องเกี่ยวกับเพศต่างๆ และ อันตราย สามสิ่งนี้มักเป็นเรื่องหากินหลักของพวกเราเสมอ
  • สมองระดับอารมณ์มักจะถูกกระตุ้นได้ดีด้วย “รูปภาพ” ยิ่งถ้าเป็นรูปภาพของ “คนอื่น” หรือจากเรื่องที่มนุษย์คนนั้นอยากรู้อยากเห็น ยิ่งจะมีผลดึงดูดความสนใจมากขึ้น และมีผลในการตัดสินใจเสมอ
  • พฤติกรรมมนุษย์มักถูกกระตุ้นได้ดีด้วยเรื่องถ้าเขาไม่ได้สนใจ หรือระมัดระวังตัวไว้ก่อนเสมอ
  • Old brain นั้นจะกระตุ้นให้เราทำอะไรต่างๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวได้เสมอ แน่นอนบางครั้งเราก็หาเหตุผลมาอธิบายสิ่งเหล่านั้นไม่ได้

ปัจจัยที่ 9: มนุษย์มักพยายามสร้าง บรรทัดฐาน ให้ตัวเองเสมอ

  • มนุษย์มักจะสร้าง “บรรทัดฐาน” ให้กับสิ่งที่ตนเองกระทำเสมอ เช่น ถ้าจะไปจ่ายบิลบัตรเครดิต จะต้องเตรียมอะไรบ้าง จะต้องตรวจสอบเอกสารอะไรยังไงก่อนกลับบ้าน หรือ จะสั่งซื้อของทาง Internet ต้องตระเตรียมอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ถูกหักไปถูกต้องหรือไม่ เว็บไซต์มีความปลอดภัยแค่ไหน
  • จากด้านบนสิ่งเหล่านี้ Interface ที่คุณออกแบบจะส่งผลกระทบโดยตรงกับขั้นตอนการสร้าง “บรรทัดฐาน” ความยาก ความง่ายของ Interface ที่คุณออกแบบ “บรรทัดฐาน” จะเป็นตัวตัดสินว่าเขาจะเลือกทำ เลือกใช้ หรือไม่เลือก
  • เพราะฉะนั้นหากเป็นสิ่งใหม่ที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้คุณจะต้องวางแผนการสอน หรือวางระบบอธิบายให้ดีพอ (นี่เป็นเรื่องยากมากสำหรับ UX Designer) สิ่งเหล่านี้เป็นการบอกให้ผู้ใช้งานทราบว่าเรากำลังจะพาคุณเปลี่ยนไปใช้วิธีทำ วิธีคิดที่แตกต่างจาก สิ่งที่คุณเคยทำอยู่นะ คุณพร้อมไหม
  • การใช้การเปรียบเปรยในการสอนจะช่วยให้การสอนและการรับรู้นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เช่น “การเขียน HTML ให้ถูกหลักนั้น เหมือนกับการวางลำดับเนื้อหาในการเขียนรายงาน”
  • บรรทัดฐาน เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลสำคัญมากอย่างหนึ่งเพราะฉะนั้นเราควรจะทำ User Research ก่อนลงมือวางแผนการออกแบบใดใดเสมอ

ปัจจัยที่ 10: ระบบจัดการการมองเห็น

  • ถ้าหน้าเว็บของคุณมันมีข้อมูลมากมายและคุณรู้ว่ามันจะทำให้ยากต่อการค้นหา คุณควรจะทำการรวมกลุ่มและจัดระบบระเบียบวางระยะห่าง (ออกแบบ layout) ให้เป็นระบบ ช่วยให้สายตาของผู้ใช้งานกวาดได้สะดวกและแยกแยะประเภทของมันได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น http://www.nytimes.com
  • อะไรก็ตามที่อยู่ใกล้กันต้องมั่นใจว่ามันเข้ากัน มีความสัมพันธ์กันหรือเข้ากันได้
  • มนุษย์ส่วนมากจะใช้สายตากวาดจากขอบเขตชี้แบ่งเนื้อหาส่วนรอบนอกเข้ามาเพื่อค้นหาใจความสำคัญเสมอ นั่นคือระบบ Eye Tracking System
  • การใช้ Text และสี background ก็มีผลต่อความสนใจ และใส่ใจตั้งใจที่จะอ่านและค้นหาข้อมูล
  • มนุษย์มักเก็บรายละเอียดบนหน้าจอได้ดีเมื่อเขาเหล่านั้นยืนอยู่เหนือหน้าจอนั้นๆ หรือระดับสายตาอยู่เหนือบริเวณจุดสนใจต่างๆ (มุมยืนแอบมองจากข้างหลังนั่นเอง) ผมขอยกตัวอย่าง http://www.wired.com แถบ navigation bar จะถูกวางไว้เกือบกลางหน้าจอแรก เพราะต้องการให้เป็นจุดสนใจ และบางครั้งคุณจะเห็น ads banner มาโผล่ใต้ navigation bar นี้ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นพื้นที่ที่ ads ใดมาลงคงโดนค่าเช่าที่แพงสุด เพราะมันเป็นจุดดึงดูดสายตามากที่สุดพอดี
  • การใช้สีมักดึงดูดและช่วยแยกแยะประเภทของข้อมูลได้ดีเสมอ แต่อย่างไรก็ตามควรคิดถึงคนที่ตาบอดสีด้วยนะครับ

ก็เป็นการจบ 10 ปัจจัยจิตวิทยา ที่เราต้องคิดถึงมันก่อนนิดนึงก่อนจะลงมือออกแบบงานกันนะครับหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการทำงานของเพื่อนๆ ครับ สำหรับวันนี้สวัสดี และขอบคุณที่แวะเวียนมาอ่านกันครับผม

Back to Top

One Response to 10 ปัจจัยจิตวิทยาพื้นฐานที่ควรคำนึงถึงก่อนออกแบบ UX (จบ)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top