บทความพิเศษ

รู้จักการวางกลยุทธ์เนื้อหาสำหรับเว็บไซต์

การวางกลยุทธ์เนื้อหาที่ใช้กับเว็บไซต์นั้นมีมานมนานพอ ๆ กับการผลิตเว็บไซต์ออกไปสู่โลกออนไลน์ แต่บทบาทของการวางกลยุทธ์เนื้อหาจะเริ่มมามีบทบาทเด่นชัดมากขึ้นในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เพราะอะไร? … แน่นอนครับจำนวนผู้ใช้งานของอินเตอร์เน็ต และ จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจบนโลกออนไลน์ มีเพิ่มมากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ปี ต่อ ปี ทำให้การแข่งขันกันของผู้ประกอบการต่าง ๆ บนโลก online มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อัตราที่จะเกิด และ ดับในวันเดียว 100 เปอร์เซ็นต์ ก็มีเช่นกัน

คนที่คิดริเริ่มก่อน คิดผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ออนไลน์ได้ก่อนใครก็จะมีภาษีได้ถือไพ่เหนือกว่า ยิ่งถ้าได้การวางแผนระบบโครงสร้างพื้นฐานมาอย่างดี (Infra Structure) ก็ยิ่งมีลุ้นว่าจะอยู่ได้ยืนยาว หรือ ตลอดไป แต่กระนั้นก็ยังคงต้องพึ่งพาเนื้อหา (Content) ที่ดีเพื่อดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายด้วย (End Users) คนที่มาทีหลังก็คงต้องทำการบ้านการอย่างหนักกันหน่อย ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ของตน (Differentiate) กับบริษัทคู่แข่งเราทราบกันแล้วว่าปัจจุบันนี้ เนื้อหา สามารถถูกนำไปเผยแพร่ได้หลายช่องทาง (Channel) และ ในหลาย ๆ สื่อ (Media) ต่อไปนี้คงต้องวางแผนกันรอบคอบหน่อย ปวดหัวมากขึ้นกันหน่อย และ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญฌฉพาะทางมากขึ้นหน่อย คงจะหมดยุคสมัยของมนุษย์เป็ดแล้วอย่างแท้จริง ต้องขอบคุณ Sir Tim Berners Lee ที่สร้าง WWW ให้เราได้ใช้กัน สื่อ ตัวนี้เป็นสื่อที่แพร่กระจายตัวได้รวดเร็ว และ เข้าถึงมนุษยชาติได้ทุกท้องที่ทุกเพศทุกวัย หลาย ๆ บริษัท หรือ นักธุรกิจคงเห็นแล้วว่ามันเป็นของที่ลงทุนถูกแสนถูกแต่กำไรที่จะได้กลับมานั้นมหาศาล ถ้าทำการบ้านมาดี

ยุคสมัยของ CSS HTML Layout

เรากำลังอยู่ในช่วงไหนของการเดินทาง กับการเขียน CSS Layout กันแน่ หลายคนยังสงสัย หลายคนก็ไม่สงสัยหรืออีกไม่น้อยไม่อยากจะรู้ ขอแค่เพียงทำมาหากินได้ก็พอ เพราะของบางอย่างไม่ต้องรู้เพราะมองไม่เห็นประโยชน์ ว่ามันจะเอามาช่วยประคองชีวิตต่อไปอย่างไรได้

เรื่อง ยุคสมัยของการเขียน CSS Layout นี้ จริงๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ขนาดกู้วิกฤติการเมืองได้ แต่มันพอที่จะให้เรามองเห็นอนาคตข้างหน้าว่า ต่อไปแล้ว ชีวิตของเราในอาชีพนี้จะเดือนไปทางไหน

ผมขอแบ่งออกเป็น 3 ยุคใหญ่ๆ ดังนี้

  1. Table Layout
  2. Floating Layout (Tableless layout)
  3. Positioning Layout

อาชีพเขียน CSS

หลายๆ คนที่แวะเข้ามาอ่านบทความที่ ThaiCSS ชักจะเริ่มอ่านบทความที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องบ้างแล้ว ตอนนี้ ผมพยายามปรับปรุงรูปแบบการเขียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เพื่อที่จะได้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น แต่ ในความรู้สึกของคนทั่วไป มันก็ยังยากที่จะเข้าใจอยู่ดี

เมื่อก่อนนี้ ผมคิดหาทางแก้ไขอยู่เหมือนกัน ว่าจะเขียนยังไงให้มันง่ายสำหรับคนทั่วไป

คิดไปคิดมา ก็ถึงบางอ้อ ว่า "ThaiCSS ไม่ได้มีสำหรับคนทั่วไป" นี่หว่า แสดงว่าหลุดกลุ่มเป้าหมาย เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายมี ห้าคน ที่นั่งฟัง เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเสียงดังๆ เพื่อให้คนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้ยินหรือพยายามให้เขาเข้าใจด้วย รบกวนเขาเปล่าเปล่า ถ้ามีคนอื่นสนใจ เดี๋ยวเขาจะมานั่งฟังเอง แต่บางที ถ้าห้าคนที่นั่งอยู่หนีหมด ก็แสดงว่าหมดอนาคต ผมพับเสื่อกลับบ้านได้เลย

ไม่ฉะนั้น มันจะหลุดกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนใหญ่แล้ว คนที่คิดเขียน CSS ในตอนแรก คงคิดว่ามันง่ายๆ อะไรก็ได้ เช่น ผัดไทประตูผี หรือ ข้าวต้มราชวงศ์ อะไรประมาณนั้น แต่หารู้ไม่ว่า CSS มัน ซุปหน่อไม้ใส่ใบขิง ชัดๆ จัดเป็นอาหารเฉพาะกลุ่ม คิดจะกิน ต้องกินเป็นอาชีพ กินแบบพาร์ทไทม์ไม่ได้ แต่ก็อย่างว่า ตลาดมันไม่ค่อยกว้าง เสี่ยงต่อการอดตายสูง หากกินผิดหลัก ถ้าปฏิบัติตามมาตรฐาน อย. แล้ว รับรอง ได้ใบประกาศ แน่นอน ส่วนประกาศว่าเป็นอะไรนั่น ก็อีกอย่างหนึ่ง

การเขียน Attribute Class อย่างสื่อความหมาย

บางคน หรือหลายคน หรือส่วนใหญ่ เอาเป็นว่าส่วนใหญ่แล้วกันครับ สำหรับคนที่รู้สึกด้วยตังเองแบบไม่อ้างตนว่าเขียน HTML เป็น คงรู้กันว่า class ของ HTML ไม่ได้เอาไว้ให้ CSS ใช้งานเป็นหลัก

class ของ HTML คือภาษา HTML ไม่เกี่ยวกับภาษา CSS ภาษา CSS นั้นมาขอใช้งานภาษา HTML ด้วยการสั่งงานผ่าน HTML Attribute ที่ชื่อ class เท่านั้น และหรือในกรณีเดียวกัน CSS ก็ขอเอี่ยวกับ Attribute id ของ HTML ไปด้วย

อย่างที่บทความก่อนหน้านี้เรื่อง class ที่ รดิส ได้เขียนเอาไว้ เรื่อง "attribute class และ การใช้งานอย่างถูกต้อง" class ของ HTML มีเอาไว้เพื่อจำแนก "ของที่มีอยู่ในหน้าเอกสาร ที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน" ส่วน id มีเอาไว้เรียกชื่อเพื่อระบุการมีตัวตอนของ ของ แต่ละชิ้น เช่น ในห้องเรียนชั้น ม.5 ห้อง 5/3 มีเด็กแนวกลุ่มหนึ่ง ชื่อ "เกรียนเมพ" ในกลุ่มนั้น มีนักเรียนชาย5 คน นักเรียนหญิง 5 คน ถ้าเรามาเขียน HTML ก็จะจำแนกออกเป็นสอง classes คือ class="นักเรียนชาย" และ class="นักเรียนหญิง"

HTML5 กับ CSS3 อนาคตที่จะมาบรรจบกัน ตอนที่ 1

คำเตือน บทความนี้เป็นบทความเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในโลกปัจจุบัน ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่มองอนาคตระยะ 15 เมตร

คำเตือนที่สอง เนื้อหานี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และ ตัวอย่างทั้งหมด ไม่สามารถใช้ User Agent ที่เป็น Browsers อย่าง IE ทั้ง 6-7-8 เรียกดูได้ เพราะฉะนั้น กรุณาใช้ Firefox, Opera, Safari, หรือ Chrome เข้าชม

คำเตือนที่สาม ผมเกรียน…

ผมขอพูดไปเรื่อยๆ ทีละขั้น จนไปถึงขั้นสุดท้าย คือการทำตัวอย่างหน้าเว็บด้วย HTML5 โดยใช้ CSS3 เข้ามาจัดการหน้าเว็บ

-1-

คำถามชุดที่หนึ่ง ราคา สี่ร้อยเก้าสิบเก้าบาท

ถามว่า HTML5 จะใช้ได้ในเร็ววันนี้หรือไม่

คำตอบคือ ทั้งใช่ และไม่ใช่ อย่างไรบ้างหละ

เมื่อไหร่ จะเกิดการวิวัฒน์ อย่างถ่องแท้

ผมพยายามนั่งดู ความเป็นไปในวงการผู้ประกอบกิจการ ผู้ทำงานเกี่ยวกับ Website ในบ้านเราอยู่เป็นเวลานานพอสมควร เรียกว่าในระยะหนึ่งได้ และ สิ่งที่คิด และ เขียนออกมานั้นอาจจะเป็นความคิดที่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หลาย ๆคนคิดกันไว้อยู่แล้วก็เป็นได้ ผมไม่อาจทราบได้เลยว่าปัญหาที่มันเกิดมันเกิดขึ้นเพราะ ระบอบสังคม วัฒธรรม ของบ้านเราหรือไม่ ที่ทำให้ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างกลายมาเป็นเฉกเช่นทุกวันนี้ บริษัทที่อยากประกอบธุรกิจบนโลก online, Agency และ Freelancer หลาย ๆ แห่งในไทยกำลังย่ำอยู่กับบางสิ่งที่เขาเองเรียกว่าการพัฒนา สิ่งที่เขาเองเรียกว่า เขาทำได้ และ เข้าใจได้ถ่องแท้แล้ว นำมาประพฤติปฏิบัติกับลูกค้า หรือ งานของตน ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ควรหยิบยื่นให้โดยไม่จำเป็นต้องร้องขอค่าบริการ เลยก็ได้ เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ถ้าลูกค้าเขามาอ่านใน Internet เจอเอง หรือ วันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจได้เอง อาจจะทำได้เองโดยไม่ต้องร้องขอ สิ่งเหล่านี้ หรือ หันไปใช้บริการของฟรีจากที่อื่น ที่มีประสิทธิภาพ และ ผลลัพธ์เหมือนกัน ผมขอใช้คำนิยามเรื่องราวแบบนี้ว่า “การเอาเปรียบ” อันนี้รวมไปถึงกระทั่งบริษัทที่ประกอบธุรกิจ online / Agency ปฏิบัติต่อกันและกัน หรือปฏิบัติต่อ Freelancer เช่นเดียวกันรวมไปถึง Freelancer ปฏิบัติต่อ Freelancer ด้วยกันเองอีกด้วย

Back to Top