บทความพิเศษ

Google Chrome สงครามบราวเซอร์ยกใหม่

ผมไม่ขอพูดถึงในเรื่องของประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่น หรือรูปแบบการทำงานอะไรมากมาย แต่อยากจะสาธยายถึงความน่าจะเป็นเมื่อผลิตภัณฑ์นาม Google Chrome ออกมาสู่ตลาดเพื่อฟาดฟันสงครามกับเจ้าอื่นๆ

ใครที่ยังงงว่า Google Chrome คืออะไร ก็ตรงๆ ครับ มันคือ Web Browser จาก Google ที่หลายคนคงคิดว่า มันจะมาเป็นตัวฝัง IE8 แบบตายตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด

สำหรับคนที่ได้ลอง IE8 Beta 2 แล้วนั้น คงเห็นไปแล้วว่าของเขาดีในระดับหนึ่ง คือดีกว่าเดิมมาก สำหรับฝั่ง Web Accessibility คงยิ้มออก มีความสุขเล็กๆ เพราะอย่างน้อยในเรื่องของ CSS และ XHTML ก็ได้มากกว่าที่เคยเป็นมา ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมก็ยังไม่ทราบเช่นกัน

ลดปัญหาโลกร้อนด้วยการเขียน XHTML, CSS อย่างถูกวิธี

เกาะกระแสโลกร้อนกันดีกว่าครับ ปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมืองไทยไม่ยอมน้อยหน้า แล้วอันใด เราชาว XHTML, CSS จะยอมน้อยหน้า มาช่วยกันเขียนเว็บเพื่อลดปัญหาโลกร้อนกันดีกว่า อย่าเพิ่งตกใจว่าจะชวนไปทำหน้าเว็บเพื่อเชิญชวนผู้คนลดใช้ขยะมลพิษ มันไม่ใช่แนวเท่าไหร่

ผมลองๆ นึกดู ว่าการทำเว็บ XHTML CSS สามารถช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดีอีกทาง อย่างไร ก็ง่ายๆ ครับ แค่เขียนเว็บให้ถูกหลัก Web Standards และเป็นไปตามหลักการของ Semantic Web ใช้ External CSS แค่นี้ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งแล้วครับ มาดูกระบวนการแนวคิดมั่วๆ ของผมกัน

HTML5 XHTML2 และ อนาคตของเวป (3)

W3C กับ HTML

W3C ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้พัฒนาอื่น ๆ ที่สนใจได้เข้ามาพัฒนา HTML ต่อจากตัว W3C เอง ซึ่งทาง W3C เองนั้นจะเริ่มการพัฒนา XHTML 2  ต่อ โดยกลุ่มที่นำ HTML ไปพัฒนาต่อนี้ได้แยกออกจาก W3C โดยสิ้นเชิง และ ประกาศสถาปนาตนเป็นองค์กรใหม่ภายใต้ชื่อว่า WHATWG ดังใน บทความตอนก่อนหน้าที่ผมได้กล่าวเอาไว้ ซึ่ง WHATWG นี้นำโดย Chris Wilson ผู้พัฒนา Platform ของ Internet Explorer และ Dan Connolly แห่ง W3C (ทีนี้ พอจะได้คำตอบในสิ่งที่ผมถามไว้คราวที่แล้วแล้ว หรือ ยัง ให้ลองอ่าน บทวิจารณ์ของ พร ไม่ว่าจะใน blog ส่วนตัว ใน บทความก่อนหน้าของผม และ ในบทความ web standard บนเวทีการเมือง ซึ่งล้วนแล้วเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น)

Semantic Web พูดกันทุกทาง อย่างมีความหมาย (1)

  1. ถ้าคุณเขียนโค้ดถูก แต่บราวเซอร์แสดงผลเพี้ยน แสดงว่าบราวเซอร์ มีปัญหา
  2. ถ้าคุณเขียนโค้ดผิด แต่บราวเซอร์ยังแสดงผลถูกต้อง นั่นแสดงว่า ทั้งตัวคุณ ทั้งบราวเซอร์ ต่างก็มีปัญหา

สองข้อด้านบน เป็นประโยคที่อธิบายลักษณะ การทำงานของเว็บดีไซเนอร์ได้อย่างน่าขันดี แต่หลายคนอาจจะไม่ขำกับผมด้วยเป็นแน่แท้ เพราะส่วนใหญ่อยู่ที่ข้อสาม คือ ไม่รู้ว่าตัวเอง เขียนโค้ดถูก หรือผิด เลยไม่รู้ว่า บราวเซอร์ แสดงผลถูกหรือผิดในความเป็นจริง แต่ในเชิงประจักษ์ทางสายตา เรายังเห็นการแสดงผลที่เพี้ยนบ้างพออภัย

หลายคนคงหงุดหงิดไม่น้อย ที่ช่วงหลังๆ เข้ามาที่ไทยซีเอสเอส แล้วเจอแต่เรื่องราวประหลาด ไม่ค่อยมีบทความเกี่ยวกับการเขียน CSS เลย มีแต่เรื่องบ้าบอคอแตก อะไรก็ไม่รู้ คำก็ Web Standards สองคำ ก็ ทำเว็บให้ได้มาตรฐาน สามคำก็ พาไปเขียน XHTML แล้วเรื่องราวของ CSS หละ อยากเห็น อยากเจอ

web standard บนเวทีการเมือง

จากที่พรได้ส่งบทความ เสียงลือ เสียงเล่าอ้าง จาก Bruce Lawson ที่เขียนใน webstandards.org เกี่ยวกับ Web Standards ที่ได้ถูกนำเข้าไปบัญญัติเป็นกฏหมายของประเทศอังกฤษให้ผมได้ลองอ่านดูแล้ว มันทำให้อดนึกสะท้อนถึงสภาพการณ์ ณ เวลานี้ในประเทศเราหลาย ๆ อย่าง แต่ช่างมันพูดแค่ไอ้เรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นก็พอ

โดยสรุปแล้วนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ร่างกฏหมายเกี่ยวกับ Web Standards และ Guideline คร่าว ๆ ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะประกาศ “อย่างเร็วที่สุด” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะปล่อยออกมาจริง ๆ หรือไม่คงต้องเฝ้ารอดูกันต่อไป แต่แนวโน้มความเป็นไปได้คงจะสูง เพราะตอนนี้มีคำสั่งออกมาแล้วว่า website ใดใดก็ตามที่เป็นของรัฐบาลอังกฤษ (.gov.uk) นั้นจำเป็นจะต้องออกแบบ และ สร้างขึ้นตามมาตรฐาน WCAG 1.0 ของ W3 ที่บัญญัติไว้นั้นในระดับ Double-A (หรือ Level-AA) โดยทั้งหมดจะต้องปรับปรุงให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม 2551 และ จะขยายผลสู่ Website อื่น ๆ ต่อไป (เมื่อร่างกฏหมายนั้นถูกประกาศ) เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไร?

จัดระเบียบการทำงานกันดีไหม

จากประสบการณ์ทำงานกับ Agency และ กับบริษัททั้งหลาย ที่ผมได้ร่วมงานมา ประสบการณ์ดีดี และ ปัญหาที่ผมได้พบนั้นก็มี case ต่าง ๆ มากมายหลายสิ่งอยู่ (หลายสิ่งอยู่ = สำเนียงแถวบ้านผมน่ะ ความหมายประมาณ “หลายสิ่งเหมือนกัน” ตามภาษาภาคกลาง) ผมอยากจะยกสิ่งที่ผมเคยร่ำเรียนมา หรือ concept ที่ผมพอจำได้เลือนลาง หรือ อาจเสริมลงไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นตัวอย่างในการคิด การลำดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นประโยชน์ หรือ ไม่เป็นประโยชน์ ก็ต้องขอขอบคุณ และ ขออภัยไว้ล่วงหน้า และ ก็อยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หรือ ผู้ที่เป็นมิตรรักแฟนเพลง ThaiCSS แสดงความคิดเห็นกันให้หูดับตับแลบ กันที่บทความนี้ ถือเสียว่าเป็น การฉลอง section ใหม่ ที่ผมขอพรเปิดขึ้นมาละกัน

จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราได้เรียนในสมัยอุดมศึกษาแล้วก็ได้ ในภาควิชาโฆษณา หรือ สื่อสารมวลชน ผนวกกับวิชาการพัฒนาซอฟท์แวร์ ซึ่งผมเรียน MIS มาก็พอจะได้เรียนมาคร่าว ๆ บ้างบางตัวในส่วนของทางนิเทศน์ศาสตร์ สิ่งที่ผมจะเขียนมันเกี่ยวข้องกับ Web Agency และ Freelance ทางด้าน Web Design ซึ่งผมคิดว่าอาจจะไหล ไปร่วมกับงานด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพราะมันน่าจะเอาไป Apply ต่อยอดได้ต่อไปได้ บางทีมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราเรียนแล้วถูกลืมไปว่าเราเอามันมาใช้ประโยชน์เมื่อทำงานจริง ๆ ก็ได้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

Back to Top