CSS3

การใช้งาน Layering Multiple Background Images

สวัสดีพี่น้องชาว ThaiCSS ผู้รักสนุกทุกท่านครับหลังจากหายหัวหนีไปปั่นจักรยานอยู่พักใหญ่ วันนี้ได้ฤกษ์ปล่อยบทความที่ตั้งใจจะเขียนซักทีถือว่าเป็นบทความก่อนลาไปอุปสมบทแล้วกันนะครับ วันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งาน “Layering Multiple Background Images” หรือการใช้งาน Background แบบหลายเลเยอร์นั่นเอง

Layering Multiple Background Images นั้นเป็นความสามารถที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน CSS3 โดยความสามารถนี้จะทำให้เว็บดีไซน์เนอร์ทำงานกับ Background ได้ยืดหยุ่นมากขึ้น สำหรับการใช้งานนั้นเพียงใช้เครื่องหมาย comma-separated(,) หรือเครื่องหมายจุลภาค คั่นระหว่างแต่ละ Background ที่ต้องการเรียกใช้โดยคำสั่งที่อยู่แรกจะเป็นตำแหน่งเลเยอร์บนสุด และเรียงลำดับลงไปเรื่อยๆ

CSS3 Transition Timing Functions

ราวบันได

วันนี้ผมอยากจะมาบอกเล่า แลกเปลี่ยนอะไรสั้นๆ ครับ ในเรื่องของ Timing Functions ของ CSS3 นั่นก็คือ Function ที่เอาไว้คอยกำหนดรูปแบบการ “เปลี่ยนผ่าน” จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง นั่นเอง ซึ่งมีทั้งหมด 9 แบบ ที่ผมนำเรื่องนี้กลับมาพูดอีกครั้งเพราะว่าได้ใช้เรื่อง Transitions ของ CSS3 อย่างจริงจังแล้วในตอนนี้ เพราะหลายบริษัทเน้นทำ Web เพื่อ iPad หรือ ดรอยด์ Tablet รุ่นใหม่ๆ ในเมื่อบราวเซอร์สามารถรองรับ CSS3 ได้ก็ใช้ให้เกิดประโยชน์ซะเลย ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพา jQuery ให้หนักเกินไป

เริ่มจริงจังกับการเรียนรู้พื้นฐาน CSS กันเถิด

หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง “แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” เอาไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2010) ถึงตอนนี้ผมยังคิดว่าแม้กระทั่งผู้เขียนอย่างผมเองยังต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเรานั้นไปตามเส้นทางแบบนั้นอย่างจริงจังหรือไม่

บทความที่ว่าก่อนหน้านั่นอาจจะดูคร่าวๆ ไปหน่อยสำหรับผู้ที่เริ่มจากพื้นฐานจริงๆ

วันนี้ผมมีเรื่องราวที่แยกย่อยลงไปเพื่อนำมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมครับ ซึ่งเรื่องราวนี้จะมุ่งเน้นไปยัง “หลักการการเรียนรู้ แยกแยะ จดจำ วีธีการทำงานของ CSS3 หรือ CSS4”

ตามที่เรารู้กันเป็นอย่างดี ในความแตกต่างของ CSS2 กับ CSS3 แต่เอ๊ะ ใครยังไม่รู้ความแตกต่างบางข้อที่ทำให้ภาษานี้แตกต่างกันอย่างมากขอรับ ยกมือหน่อย “ผมรู้ว่าคุณยกมือในใจ”

CSS Calculations การใช้ Functional Notations – CSS calc()

ป้ายโรงม้า

CSS3 มี Values and Units Module แยกย่อยออกมาเพื่อกำหนด “หน่วย” ของค่าต่างๆ มากมาย “หน่วย” ในที่นี้ก็เช่น px, em, %, cm, gr, fr, deg, rem, vh และอื่นๆ อีกมากมาย โดยที่ความเก๋าและเฉพาะทางของ CSS3 ที่ Module นี้แถมมาด้วยก็คือ การนำเอา “หน่วย” ที่ต่างๆ กันนั้นมา “ทำการคำนวณ” (calc();) เพื่อหาค่าที่ลงตัวใหม่ได้

พูดง่ายๆ ก็เช่น สมมุติว่าเรามีกล่องในอุปกรณ์เครื่องเขียน ซึ่งมีความยาว 100% ของที่มีอยู่ข้างในเราต้องการกำหนดความยาวให้เป็นดังนี้ ดินสอยาว 3cm ยางลบยาว 40px ปากกายาว 100% – 3cm – 40px จากโค้ดตัวอย่าง อันบ้าบิ่นและไม่สมเหตุสมผลนี้ ความยาวของปากกา ก็จะมีค่าเท่ากับ 100% – 3cm – 40px = ? ก็ช่างมัน

ทำแผนที่แบบง่ายๆ ด้วย CSS3 Transitions

ดวงอาทิตย์ตกดิน ข้างซ้ายมีตึก Cyber World กำลังก่อสร้าง

วันนี้ผมเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แล้วตามด้วยบราวเซอร์อย่าง Firefox หลังจากนั้น  Firefox ได้ทำการแจ้งเตือนอัพเดทเป็นเวอร์ชั่น 7 (Beta) ผมเลยนึกขึ้นได้ว่า ผมมีตัวอย่างการทดลองเขียน CSS3 สไตล์ง่อยๆ อยู่อันหนึ่งซึ่งเขียนไว้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553

ก็ย้อนจากวันนี้ไปประมาณ 9 เดือน ซึ่งตอนนั้นผมเขียน และทดลองเล่นดู ปรากฎว่า มีบราวเซอร์รองรับแค่ 2 ตัว คือ Chrome และ Safari ซึ่งเป็น Webkit ทั้งคู่ จึงพับเก็บเอาไว้ก่อนไม่ได้เขียนอธิบายลงเว็บ

การใช้ font-face ในหน้าเว็บ

สวัสดีครับ พ่อยก แม่ยกทั้งหลาย วันนี้มาแบบ สั้นๆ ง่ายๆ ห้วน ๆ ด้วนๆ เพราะสันดานมันฟ้อง “อะไรก็ได้ ง่ายๆ”

เราจะมา เอา “ตัวหนังสือ” เข้าไปใส่ในหน้าเว็บกัน

IE7 และ IE8 ก็ใช้ได้ด้วย แต่จริงๆ แล้วบราวเซอร์ทั้งสองตัวนี้ รองรับการ @font-face {} มานานแล้วนะครับ ที่ไม่ค่อยใช้กันเพราะว่า มันไม่รับ font แบบ .TTF (TrueType) แม่เจ้ารู้จักแต่ .EOT (OpenType) นี่มาตรฐาน M$ เค้าหละ

วิธีการใช้งานก็ปกติ ธรรมดา แค่เราต้องเอา Font ที่เป็น .ttf ที่มี ไปแปลงเป็น .eot เสียก่อน

Back to Top