พร อันทะ

โศกนาฏกรรมของคนลาวพลัดถิ่น

ผมเพิ่งซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านยังไม่นาน อ่านยังไม่จบด้วยซ้ำ

เป็นหนังสือ รวมเรื่องสั้นรางวัล ซีไรท์ ของประเทศลาว ประจำปี 2005 ว่าด้วยการจากลา และการพลัดถิ่นของคนลาว ที่ต่อสู่กับมรสุมชีวิตในต่างถิ่น ซึ่งชื่อหนังสือเต็มๆ คือ “ใบไม้ใบสุดท้าย : โศกนาฏกรรมของคนลาวพลัดถิ่น

ผมเป็นคนลาวหรือ คำตอบคือไม่ใช่ ผมเป็นคนไทย แต่เป็นคนไทยอีสาน ผู้พลัดจากถิ่นฐานมุ่งหน้าเข้ากรุงมาทำมาหาเลี้ยงชีพในเมืองหลวง แต่ชีวิตอาจจะไม่ได้รันทดเท่าคนอีสานส่วนใหญ่ ที่เข้ามาใช้แรงงาน ทำงานก่อสร้าง

หลายคนที่ได้คุยกับผมทาง เอ็มเอสเอ็น คงรู้กันแล้วว่า ช่วงเวลาการเป็นมนุษย์ เงินเดือนของผมกำลังจะจบลง เพราะบริษัทที่ผมทำงานอยู่ต้องปิดกิจการ กลับบ้านเกิดที่ นอร์เวย์ ซึ่งเคราะห์กรรมไม่ได้เกิดกับผมคนเดียว แต่มันเกิดกับเพื่อนๆ ในที่ทำงานด้วย ช่วงเวลาที่เหลืออีกไม่กี่วัน คงเป็นช่วงแห่งสุญญากาศ ที่ผมกับเพื่อนๆ ต้องคุยกันมากขึ้น ว่าแต่ละคนจะระเห็จไปทางไหน หรือตั้งหลักชีวิตกันยังไงต่อไป

ไม่มีโทรศัพท์และเครื่องปรับอากาศ

๑.

ผมชอบประโยคนี้มาก หลังจากได้อ่านมันบนปก พ๊อกเก๊ตบุค เล่มล่าสุด ของ นักเขียนนาม วรพจน์ พันธุ์พงศ์ ผู้ซึ่งได้ถูกขนานนามว่าเป็นนักสัมภาษณ์ ตัวฉกาจคนหนึ่งของเมืองไทย รวมทั้งงานเขียนที่ไม่ธรรมดา ผมติดตามอ่านงานของนักเขียนคนนี้ มาก็นานโข อาจจะไม่หมดทุกอย่าง ทุกเล่มแบบ แฟนพันธุ์แท้ แต่ก็เรียกว่าเยอะเอาก

ละล่าสุดกับ ไม่มีโทรศัพท์ และเครื่องปรับอากาศ ผมอ่านรวดเดียวจบ อ่านเรื่อยๆ ซึมซับความรู้สึกเรื่อยๆ เพราะส่วนใหญ่ เวลาผมทำงาน ผมจะไม่มีโทรศัพท์และเครื่องปรับอากาศ ครับ

ใช่ครับ ผมไม่ใช้โทรศัพท์ มือถือ ผมมีเบอร์ แต่คนโทรหาไม่เคยติด ติดผมก็ไม่ค่อยได้รับ และตอนนี้ผมก็ไม่รู้ว่าโทรศัพท์มือถือ ผมอยู่ไหน ปลายปี 2548 ก่อนปีใหม่เช่นนี้แหละครับ เมื่อปีที่ผ่านมา ก่อนที่ผมจะเลิกใช้โทรศัพท์ มันพังเพราะโดนลูกยิงระดับพระกาฬ ของฝ่ายตรงข้าม

ทุกวันพุธ เวลาประมาณ สองทุ่ม เรามีนัดกันที่ สนามแห่งความมืด ใน ม.รามฯ หน้าสนามราชมังฯ มีบ้างที่เสีย 80 บาท เตะอินดอร์ แล้วแต่เสี่ยเจียง(*1) เขาจัดให้ ที่ผมเรียกว่าสนามแห่งความมืด เพราะมันมืดจริงๆ ครับ ใครเคยไปเล่นคงรู้ว่ามันไม่ได้สว่างมากมาย โดยเฉพาะตรงที่พวกผมเล่นประจำ โลเคชั่นมันอำนวยต่ออย่างอื่นมากกว่าเตะบอลเป็นไหนๆ แต่ถ้าวันไหนเสี่ยเจียงเขาคึก นึกได้ เราก็จะได้เล่นในโรงยิม สนนราคาที่ 80 บาทต่อคน

เหนื่อย เมื่อย ท้อ อ่อนแรง…

นั่นคืออาการแรกของการกลับมานั่งดู โค้ด ของเว็บ www.thaicss.com แห่งนี้ เว็บที่ผมเขียนขึ้นมากับมือ ออกแบบมากับมือ แต่คราวนี้ เมื่อมองดูกลับรู้สึก เหนื่อยหน่ายกับมันอย่างเต็มที่ เหนื่อยหน่ายที่ไม่สารมารถตอบคำถาม ของตัวเองหลายๆ คำถาม เหนื่อยหน่ายที่การทำงานไม่เป็นระบบ ระเบียบ ยิ่งเมื่อก้าวต่อไป ไม่ใช่แค่เขียนเว็บด้วย CSS XHTML ด้วยแล้ว อาการมันเริ่มออก

ที่ว่ามาทั้งหมด มันผ่านไปแล้วครับ ผ่านไปพร้อมกับความสงสัย ว่าตัวผมเองจะทำได้หรือเปล่า ที่บอกว่า “ไม่ใช่แค่การเขียนเว็บด้วย CSS XHTML” อย่าง สองอย่างก็เพราะว่า เขียนออกมาแล้ว โค้ดที่เขียนออกมา เมื่อนำไปตรวจที่ www.w3.org แล้ว มันผ่านมาตรฐาน หรือเปล่า แค่ปล้ำกับ CSS XHTML PHP ให้ผ่านทั้ง 5 บราวเซอร์ โดยภาษาไทยไม่มีปัญหานี่ก็หนักเอาการ ยังต้องมา Validation กับ www.w3.org อีกหรือ ต้องกลับไปเริ่มใหม่??

ปิดเทอม

ในเมื่อวิถี แห่งชุมชนคนบ้านบอก ไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่มีวันลา ไม่มีวันขาด มีแต่งานบุญประเพณีทางพิธีกรรมหรือศาสนาเท่านั้น เพียงพอที่จะทำให้ชาวนา ชาวสวนแห่งชนบท เว้นจากภาระหน้าที่การงานมาสังสรรค์เฮฮากันในรอบปี

พ่อแม่ ออกทำไร่ ไถนา ลูกหลาน ไม่ว่าจะเล็กหรือโต ก็ต้องออกไปยังเลือกสวนไร่นาของตนตามไปด้วย โดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือข้อแม้ใดๆ เว้นแต่ว่า ครอบครัวนั้นไม่ได้มีอาชีพ ทำไร่ ทำนา เหมือนผู้คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่

เฉกเช่น สมชาย เพื่อนผู้อาวุโสของผม บ้านของเขาอยู่ห่างจากบ้านของผมออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ สองกิโลเมตร ไม่มีไฟฟ้าไม่มีน้ำประปา ผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน ต่างพากันเรียกขานสถานที่แห่งนั้นว่า ทับ ซึ่งบ้านเรือนเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างง่ายๆ ไม่ถาวร เพราะอาชีพรับจ้างตัดอ้อย สมัยนั้นผู้นำครอบครัวต้องพาครอบครัวเดินทางตามเถ้าแก่ไร่อ้อย หน้าใหม่หน้าเก่า สลับกันไป ในต่างฤดูทำให้สถานที่พักพิงไม่เป็นหลักแหล่งแน่นอน

จวบจนเนิ่นนานหลายปีผ่าน ทับ แห่งนั้นได้กลายเป็นหมู่บ้านจริงๆ หลายครอบครัว เลือกที่จะหยุดปักหลักปักฐาน ใช้แรงงานแลกกับพื้นดินเพื่อให้ครอบครัวได้อยู่อาศัย ซึ่งพ่อแม่ของสมชายก็เป็นหนึ่งในนั้น

๑. เด็กบ้านนอก

น่าแปลกใจไม่น้อย ที่เมื่อผลสอบออกมา นั้นทำให้เหล่าเพื่อนสนิท ข้างกายของผม ต่างสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งทั้ง ที่มีเลข ศูนย์ ตัวสีแดง อยู่เกือบครึ่งค่อนสมุดรายงานเกรดนักเรียน ที่คุณครูประจำชั้น ป.2 เพิ่งขานชื่อให้นักเรียนในปกครองของตนออกไปรับ

และต้องมาแปลกใจยิ่งกว่า เมื่อทั้งสองนำตัวเลขอันไม่น่าพิศมัยของใครหลายคนในห้อง อย่างเลข ศูนย์ มาอวดประชันกัน ว่าใครได้ครอบครอง ผลผลิตแห่งความโง่เขลามากที่สุด ผมอาจจะไม่รู้สึกเสียใจสักเท่าไหร่ กับการพลาดโอกาสแห่งการแข่งขันในครั้งนั้น เลข สาม เพียงตัวเดียวที่แปลกแยกออกมาจาก เลข สี่ นั้นสามารถทำให้ผมรู้สึกผิดนิดๆ ที่ไม่สามารถทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับแม่ได้ ว่าจะเอาแค่เพียงเกรด สี่ เท่านั้นกลับบ้าน มิหนำซ้ำ ตำแหน่งผู้สอบได้ที่ หนึ่งก็หลุดลอยไปอยู่ กับคู่ปรับแห่งการเรียนของผม ตลอด ห้า เทอมที่ผ่านมา นาม จำเนียร

เกิดอาการเซงจับ

ไม่ว่าจะนั่งท่าไหน นอนท่าอะไร เซงจิต จริงๆ ครับพี่น้อง ตอนแรกก็คิดวิธีแก้ไม่ออก เลิก เลิก นั่งไปไร้ประโยชน์ เข้าร้านหนังสือดีกว่า ได้ผลครับ

ร้านหนังสือทำให้หายเซ็งได้ดีจริงๆ ไปจ๊ะเอ๋กับนิตยสารสารคดี ฉบับห้ามอ่าน แล้วก็หยิบมติชนสุดสัปดาห์มาด้วย พร้อมทั้งพ๊อกเก๊ตบุคอีก 2 เล่ม ซีดีแสดงสด คน พูด เพลง ข

ไม่ว่าจะเซงจัด เซงจับขนาดไหน อ่านหนังสือคือทางออกที่ดีที่สุดของผมเสมอ และเป็นมาแต่ไหนแต่ไร นั่งในห้องเหลือบไปมองดูกองหนังสือ นิตยสารที่หาซื้อมาอ่านในรอบปีแล้ว สงสารสมองตัวเองจริงๆ ช่างน้อยนิดเสียนี่กะไร รวมกันหมด ไม่ถึง 100 เล่มนี่ สมองอาจจะพิการได้เอาง่ายๆ

Back to Top