งาน

Tag: งาน

อาชีพเขียน CSS

หลายๆ คนที่แวะเข้ามาอ่านบทความที่ ThaiCSS ชักจะเริ่มอ่านบทความที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องบ้างแล้ว ตอนนี้ ผมพยายามปรับปรุงรูปแบบการเขียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เพื่อที่จะได้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น แต่ ในความรู้สึกของคนทั่วไป มันก็ยังยากที่จะเข้าใจอยู่ดี

เมื่อก่อนนี้ ผมคิดหาทางแก้ไขอยู่เหมือนกัน ว่าจะเขียนยังไงให้มันง่ายสำหรับคนทั่วไป

คิดไปคิดมา ก็ถึงบางอ้อ ว่า "ThaiCSS ไม่ได้มีสำหรับคนทั่วไป" นี่หว่า แสดงว่าหลุดกลุ่มเป้าหมาย เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายมี ห้าคน ที่นั่งฟัง เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเสียงดังๆ เพื่อให้คนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้ยินหรือพยายามให้เขาเข้าใจด้วย รบกวนเขาเปล่าเปล่า ถ้ามีคนอื่นสนใจ เดี๋ยวเขาจะมานั่งฟังเอง แต่บางที ถ้าห้าคนที่นั่งอยู่หนีหมด ก็แสดงว่าหมดอนาคต ผมพับเสื่อกลับบ้านได้เลย

ไม่ฉะนั้น มันจะหลุดกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนใหญ่แล้ว คนที่คิดเขียน CSS ในตอนแรก คงคิดว่ามันง่ายๆ อะไรก็ได้ เช่น ผัดไทประตูผี หรือ ข้าวต้มราชวงศ์ อะไรประมาณนั้น แต่หารู้ไม่ว่า CSS มัน ซุปหน่อไม้ใส่ใบขิง ชัดๆ จัดเป็นอาหารเฉพาะกลุ่ม คิดจะกิน ต้องกินเป็นอาชีพ กินแบบพาร์ทไทม์ไม่ได้ แต่ก็อย่างว่า ตลาดมันไม่ค่อยกว้าง เสี่ยงต่อการอดตายสูง หากกินผิดหลัก ถ้าปฏิบัติตามมาตรฐาน อย. แล้ว รับรอง ได้ใบประกาศ แน่นอน ส่วนประกาศว่าเป็นอะไรนั่น ก็อีกอย่างหนึ่ง

เล็ก เล็ก น้อย น้อย Hack นิดหน่อยเพื่องาน เพื่อเงิน

วันนี้ มาดูกันแค่สั้นๆ กันลืม

จำเป็นแค่ไหน ที่เราต้อง Hack บราวเซอร์ เมื่อมาเขียน CSS

  1. – จำเป็นมาก จนถึงมากที่สุด เพราะเราต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ลูกค้ายังจุดธูปเทียนบูชา IE6 กับ IE7 ทุกวันอย่างนี้ ไม่ Hack ได้ไง
  2. – ไม่จำเป็น Hack ทำไม เพราะเว็บที่กำลังทำอยู่ไม่ได้ต้องการทำมาค้าขาย ไม่เน้นการแสดงผลทางสายตา แต่เน้นด้านการสื่อสารข้อมูลเป็นสำคัญ
  3. – ไม่รู้ว่าจะเลือกอธิบาย หรือเอาคำตอบไหน พี่ๆ เขาพาทำอย่างนี้ พี่ๆ เขาบอกว่า ฝรั่งทำเอาไว้ ทำตามไป ส่งงานได้เหมือนกัน

สามข้อข้างบน เลือกคำตอบเอาตามสบาย ไม่เลือกก็ไม่ว่ากัน เพราะต่างคนต่างมีเหตุผลและความรู้ ความคิดเป็นของตัวเองอยู่ในขั้นพื้นฐานกันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องการมากที่สุดในแต่ละคำตอบคือ การสร้างความเข้าใจ ในคำตอบนั่นต่างหาก หรือ ถ้าเลือกได้ ก็เลือกที่จะไม่ Hack หรือ ยังไงก็ Hack ไม่มีทางที่จะเป็น ฮอลล์ เด็ดขาด

จัดระเบียบการทำงานกันดีไหม

จากประสบการณ์ทำงานกับ Agency และ กับบริษัททั้งหลาย ที่ผมได้ร่วมงานมา ประสบการณ์ดีดี และ ปัญหาที่ผมได้พบนั้นก็มี case ต่าง ๆ มากมายหลายสิ่งอยู่ (หลายสิ่งอยู่ = สำเนียงแถวบ้านผมน่ะ ความหมายประมาณ “หลายสิ่งเหมือนกัน” ตามภาษาภาคกลาง) ผมอยากจะยกสิ่งที่ผมเคยร่ำเรียนมา หรือ concept ที่ผมพอจำได้เลือนลาง หรือ อาจเสริมลงไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นตัวอย่างในการคิด การลำดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นประโยชน์ หรือ ไม่เป็นประโยชน์ ก็ต้องขอขอบคุณ และ ขออภัยไว้ล่วงหน้า และ ก็อยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หรือ ผู้ที่เป็นมิตรรักแฟนเพลง ThaiCSS แสดงความคิดเห็นกันให้หูดับตับแลบ กันที่บทความนี้ ถือเสียว่าเป็น การฉลอง section ใหม่ ที่ผมขอพรเปิดขึ้นมาละกัน

จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราได้เรียนในสมัยอุดมศึกษาแล้วก็ได้ ในภาควิชาโฆษณา หรือ สื่อสารมวลชน ผนวกกับวิชาการพัฒนาซอฟท์แวร์ ซึ่งผมเรียน MIS มาก็พอจะได้เรียนมาคร่าว ๆ บ้างบางตัวในส่วนของทางนิเทศน์ศาสตร์ สิ่งที่ผมจะเขียนมันเกี่ยวข้องกับ Web Agency และ Freelance ทางด้าน Web Design ซึ่งผมคิดว่าอาจจะไหล ไปร่วมกับงานด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพราะมันน่าจะเอาไป Apply ต่อยอดได้ต่อไปได้ บางทีมันอาจจะเป็นบทเรียนที่เราเรียนแล้วถูกลืมไปว่าเราเอามันมาใช้ประโยชน์เมื่อทำงานจริง ๆ ก็ได้ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

เมื่อผมกลับมาเริ่มทำงานประจำ

หลังจากที่ห่างหายกับงานตอกบัตรไปกว่าเก้าเดือน ผมก็กลับเข้าสู่วังวนของการทำงานประจำอีกครั้ง ไม่ใช่ว่าการทำงานเป็นฟรีแลนซ์ไม่ดี หรือได้ค่าตอบแทนน้อย แต่ในทางตรงกันข้าม ในช่วงเวลาที่ผมทำงานในระบบและรูปแบบที่เขาเรียกกันว่า ฟรีแลนซ์ อยู่นั้น ค่าตอบแทนเมื่อแลกกับแรงงานที่ทำลงไปแล้วเรียกได้ว่าเกินคุ้ม

แต่สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่า ผมไม่เหมาะกับงานที่ต้องดูแล บริหารจัดการตัวเอง และงานไปพร้อมๆ กัน เพราะผมสรุปตัวผมเองแล้วว่า ผมไม่สามารถจัดการหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างให้ลงตัว และเดินไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นอย่าง นั้นมากกว่า จนเกิดความเสียหายกับงานของผู้อื่นตามมาด้วย จึงจำเป็นต้องยุติตัวเองไป พร้อมทิ้งความเลวร้ายไว้ข้างหลัง พอให้คนเขานินทาเล่นๆ และจะได้ไม่ต้องคาดหวังอะไรกับตัวผมมากไปกว่าสิ่งที่เขาเห็นอีกต่อไป

Back to Top