Web Accessiblity

Tag: Web Accessiblity

ช่วงเวลายุ่ง ๆ กับการประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ประจำปี 2553

สวัสดีครับ ชาวไทซีเอสเอส บทความนี้เกิดขึ้นจากคำเชิญชวนอันหอมหวานขอพี่ปลา(radiz) ซึ่งต้องการให้ผมมาเขียนบทความร่วมแจมที่ ไทซีเอสเอส แห่งนี้ ซึ่งผมก็ยินดีและเต็มใจอย่างสุดซึ้ง จากที่แต่ก่อนเป็นเพียงผู้เสพย์อย่างเดียว กลายมาเป็นทั้งผู้เผยแพร่และเสพย์ไปพร้อมกันก็ดีไปอีกแบบนะครับ

บ่นนำ

หลาย ๆ คนที่คลุกคลีหรือมีความรู้เกี่ยวกับ Web Accessibility อาจจะทราบอยู่แล้วว่ากระทรวง ict มีโครงการประกวดเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessiblity) ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎกติกาและเกณฑ์ในการประกวด สามารถตามไปอ่านได้ที่นี่ครับ http://equitable-society.com/webcontest.aspx ปีนี้ก็ปีที่ 3 แล้ว สำหรับตัวผมเองก็ส่งผลงานไปทุกปี ปีนี้ก็เช่นเคย ( เห็นว่าส่งทุกปีแบบนี้ แต่ผลงานที่ส่งไปก็ไม่ซ้ำกันเลยนะครับ) แถมปีนี้มีรางวัลพิเศษมาล่อให้เกิดกิเลส เกิดไฟและเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะทำผลงานเพื่อส่งประกวดอีกด้วย หวังไว้เล็ก ๆ ว่าปีนี้น่าจะได้รางวัลใดรางวัลหนึ่งติดไม้ติดมือกลับมา ให้สมกับความตั้งใจที่ได้ทำลงไปบ้าง

แต่แน่นอนว่าความสำเร็จ ในภายภาคหน้าย่อมมีอุปสรรคโบกมือทักทายรออยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลาอันน้อยนิดที่ต้องเจียดมาทำ หรือปัญหามากมายที่พบเจอทั้ง bug ทั้ง error ทั้งไอเดียที่ไม่สามารถต่อยอดมาเป็นผลงานได้

สำหรับบทความนี้จึงอยากจะแบ่งปันความรู้ แนวคิด ประสบการณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาพัฒนาผลงานสำหรับส่งประกวดชิ้นนี้ เพื่อที่ใครหลาย ๆ คนที่สนใจจะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและสังคมไม่มากก็น้อย

checklist เบื้องต้น กับ Web Accessibility (ตอนที่ 2)

กลับมากันอีกรอบครับ ต่อจาก ตอนที่ 1 ที่ได้เคยนำเสนอไปเมื่อเดือนที่แล้ว ทีนี้เราจะมาว่ากันในส่วนที่เหลือกันต่อว่าเราต้องตระเตรียมอะไรกันอีกบ้างสำหรับ Web Accessiblity ครับ

เนื้อหาที่เป็น Dynamic

  • เราไม่ควรใช้ JavaScript events ใด ๆ ใช้โหลดหน้าเวปใหม่ขึ้นมาแทนที่เมื่อคลิก หรือ (จะอธิบายอย่างไรให้เห็นภาพดี) เหมือนเปลี่ยนหน้าใหม่แต่อยู่ที่ที่เดิม เหมือนการใช้ tag iframe

รูปภาพ และ multimedia (ขออนุญาติทับศัพท์ครับ)

  • ต้องแน่ใจว่าคุณใส่ attribute alt ให้กับรูปภาพครบถ้วนแล้ว ถ้าเป็นไปได้พยายามใส่ข้อความอธิบายแบบกระชับได้ใจความ ลงไปด้วยนะครับ
  • ถ้ามี link ที่รูปภาพ ต้องใส่ alt เพื่ออธิบาย link นั้น ๆ นะครับ
  • ว่าด้วยเรื่อง คำอธิบายที่กระชับ อาทิ มีรูป ๆ หนึ่งที่ผมถ่ายคู่กับพร ควรจะอธิบายให้เข้าใจได้ว่า รดิส และ พร อันทะ เดินท่องไปตามถนน ม.ขอนแก่น ไม่ใช่แบบนี้ รูปถ่ายของอีปลา และ อีพร
  • ในกรณีของไฟล์ vdo หรือ ไฟล์เสียง เป็นไปได้ควรทำบรรยายเป็นภาษานั้น ๆ (ตามกลุ่มเป้าหมายก็พอนะครับ หรือ ใครจะฟิตทำให้รองรับทุกประเทศก็ได้ ผมช่วยเชียร์) อาทิ เช่น vdo สอน photoshop ที่เป็นภาษาอังกฤษ จะเอามาสอนคนไทยก็เอามาพากย์ เป็นภาษาไทยเสีย หรือ ใส่ subtitle บรรยายไปด้วย
  • อีกวิธีหนึ่งคือ ทำไฟล์บรรยายเกี่ยวกับไฟล์ vdo นั้น ๆ แยกออกมาต่างหากสำหรับผู้ที่ไม่สามารถมองเห็น เพื่อที่จะให้เขาได้เข้าใจไฟล์ vdo นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง (อาจจะไม่จำเป็นต้องทำเป็นไฟล์เสียงก็ได้ ทำเป็นเอกสาร .html อธิบายโดยละเอียดก็ได้ แยกกัน)
  • ถ้าไฟล์ vdo นั้นไม่สามารถ autoplay ได้คุณต้องแน่ใจด้วยว่า มีปุ่มกด vdo panel (play, pause, stop …) ที่สามารถเข้าถึงได้ ใช้งานได้จริง ๆ
  • การใช้ background image แทนตัวหนังสือควรใช้อย่างเหมาะสมนะครับ เอาเท่าที่จำเป็น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า text ที่คุณใช้สามารถแสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า font ตระกูลที่ใช้นั้นแสดงผลได้ดี มีในทุก ๆ OS (เรื่องลิขสิทธิ์ต้องช่วยตัวเองครับ ฮ่า ๆ)
  • อย่าใช้ CAPCHA ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ครับ ถ้าจะต้องใช้ควรจะเป็น audio CAPCHA ด้วยนะครับ

XHTML กับ CSS แล้วมันดีกับ Search Engine (SEO) ยังไง

เห็นด้วยกับทุกท่านครับ ดีใจที่เห็นคนไทยมีคนสนใจ XHTML กับ CSS และพยายามใช้ให้ถูกต้อง เพราะประเทศอื่น ๆ เขาไปกันไกลแล้ว จริง ๆ ผมเคยคิดที่จะทำเว็บเช่นนี้เหมือนกัน แต่ไม่มีเวลา ก็เลยล้มเลิกไป แต่ตัวผมเองนั้นก็ศึกษา XHTML, CSS และ WCAG 1.0 + WCAG 2.0 มามากกว่า 5 ปีแล้ว (พอดีว่าทำงานในองค์กรคนพิการ แล้วเขามีข้อบังคับว่า ต้องรู้จัก 3 ตัวนี้ซึ่งมีส่วนช่วยให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากเว็บได้สะดวกขึ้น)

แต่พอได้ทำแล้วก็รู้สึกชอบมากเลยครับ มันทำให้เราสามารถทำเว็บได้เร็วขึ้น แก้ไขอะไรก็ง่ายขึ้น ฯลฯ มีข้อดีหลายอย่าง บรรยายไม่หมดบางคนอาจสงสัยว่า ถ้าใช้ XHTML กับ CSS แล้วมันดีกับ Search Engine ยังไง อันนี้ก็เป็นเพราะว่า

  1. XHTML นั้นจะมีข้อมูลที่เป็นเท็กซ์มากกว่าเว็บทั่ว ๆ ไป ทำให้ Search Engine หาข้อมูลได้ง่ายกว่า
  2. XHTML เป็นภาษาแบบ Semantic ทำให้ Search Engine เข้าใจโครงสร้างเอกสารได้ง่ายขึ้น รู้ว่าข้อความใดมีความสำคัญมากน้อยจากการใช้ Tag ของเราในการ Mark up
  3. CSS ช่วยทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล (การตกแต่ง) ทำให้เนื้อหาและข้อมูลถูกแยกออกจากกัน วิธีนี้จะทำให้ Search Engine หาข้อมูลได้แม่นยำขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยกโค้ดขยะที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน

Back to Top