จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ วันหนึ่งข้างหน้า สื่อสิ่งพิมพ์ ทุกชนิดสามารถเปลี่ยนไปใช้วัสดุพิเศษ ที่สร้างสรรค์ออกมาใหม่ คล้ายกระดาษ สามารถพลิกหน้าอ่านได้เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน แต่ ใช้ไฟฟ้าในการให้พลังงานเพื่อขับเคลื่อนและใช้ อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูล จากผู้ให้บริการมาแสดงผลในหน้าหนังสือแต่ละหน้า
สมมุติว่า มีนิตยสารสักเล่ม ที่วางแผงครั้งแรกด้วยวัสดุที่ว่านี้ ตามหลักการแล้ว คือวางแผงครั้งเดียว หรือ ให้ฟรีสำหรับตัวแม่พิมพ์รับข้อมูล ผมขอเรียก “ตัวแม่พิมพ์รับข้อมูล” ก็แล้วกันนะครับ แล้วพอถึงกำหนดวางแผงในแต่ละรอบ เมื่อสำนักพิมพ์ จัดวางเลย์เอ้าท์ และข้อมูลเรียบร้อย ทำเป็นหน้าเว็บเพจ XHTML และ จัดแต่งด้วย CSS แล้วนำลงสู่ฐานข้อมูล เพื่อให้บริการ ระบบจะส่งข้อมูลอัพเดทเหล่านั้นมายัง “ตัวแม่พิมพ์รับข้อมูล” ที่คุณได้รับเอาไว้ก่อนหน้านี้ และเนื้อหาอัพเดท ปรับเปลี่ยนอัตโนมัติ ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ทุกรอบวางแผงไป ถ้าคุณยังไม่พอใจสำหรับนิตยสารเล่มนั้น คุณก็ไม่ต้องตอบรับ จ่ายเงินทางบัตรเครดิต สำนักพิมพ์ก็จะหยุดการส่งข้อมูลมายัง “ตัวแม่พิมพ์รับข้อมูล” ของคุณเอง แล้วส่งพนักงานมาเก็บอุปกรณ์เหล่านั้นกลับไปเพื่อให้ผู้สนใจรายอื่นต่อ
แต่ถ้าคุณเห็นว่า เนื้อหาภายในนิตยสารเล่มนั้นเป็นเรื่องราวที่คุณสนใจและอยากจะรับต่อ ก็แค่เพียง จ่ายเงินเป็นรายปี หรือรายหกเดือนให้แก่ผู้ให้บริการแล้วแต่ข้อตกลง พอคุณอ่านนิตยสารเล่มนั้นหมดทุกหน้า หรือไม่มีเรื่องที่น่าสนใจ ก็เพียงแค่ ถอดปลั๊ก หรือเอาถ่านออก (ในกรณีที่เป็นคน ไม่เอาถ่าน แนะนำให้ไปใช้ แก๊ซแทน) เพื่อไม่ให้เปลืองพลังงาน รอรอบอัพเดทต่อไป หรือถ้าจะกลับมาอ่านก็เพียงแค่เสียบปลั๊ก หรือเปิดสวิทซ์นิตยสาร ก็จะประกฎตัวหนังสือ รูปภาพ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ สารพัด เมื่อมีการเปลี่ยนฉบับใหม่ ก็ไม่ต้องยุ่งยากเดินหาซื้อ เพราะเดี๋ยวสำนักพิมพ์ก็จะจัดการ เปลี่ยนปก เปลี่ยนเนื้อหาให้เรียบร้อย โดยรูปแบบ อัพเดทออนไลน์
อ้าว แล้วเล่มเก่าหละ พระเอกของเราก็กลับมา คือระบบ “Search” นั่นไงหละครับ จะค้นจากฉบับไหน ก็แค่พิมพ์คำค้นลงบนปกนิตยสาร ด้านมุมขวาบน หรือใช้ไม้จิ้มฟัน เขียนเป็นตัวหนังสือ เป็นคำ ลงบนช่องค้นหา กดค้นหา นิตยสารเล่มโปรด ฉบับย้อนหลังของคุณ ก็จะกลับมาวางอยู่ตรงหน้าเพื่อที่คุณจะได้อ่านซ้ำอีกครั้ง
เหมือนมันเป็นเรื่องไกลตัวนะครับ แต่ไม่เลย ตราบใดที่ กูเกิล ใช้เวลาเพียงแค่หกปี เขย่าขา ไมโครซอฟท์ ได้ ตราบนั้นอัจฉริยะไม่แน่นอนเสมอ เครื่องบินก็เคยเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้มาก่อนไม่ใช่หรือครับ แต่ตอนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งไปสร้างฐานพักจรวดที่ดวงจันทร์กันแล้ว
เราขยับเข้าใกล้ความจริงเข้าไปทุกที กับ “Semantic Web”
10 Responses to ทำไม CSS XHTML มันไม่ใช่แค่ที่เห็น