ไม่ทราบว่าเคยได้ยินกันบ้างหรือยังกับคำคำนี้ Microformats และ งงกันบ้างไหมครับว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร สำหรับเราหลาย ๆ คนคงเป็นเรื่องใหม่ ที่จะเข้ามาปั่นหัวให้วุ่นวายกันอีกแน่ Microformats เป็น “กลุ่มของข้อมูล ที่นำเอามาตรฐานเข้ามาใช้ ที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาให้เป็นประโยชน์ต่อ มนุษย์ มากกว่า จักรกล” อย่างไรนะเหรอ? ในอนาคตอีกไม่นานนี้ (ในประเทศไทย) จะได้รู้ถึงคุณประโยชน์ของมันอย่างแน่นอน เมื่อ ICT รู้จักทำประโยชน์ให้ประเทศ รู้จักมองถึงปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับโลก cyber อย่างแท้จริง รู้จักมองถึงประชาชนในประเทศ และ รักษาสิทธิ์ที่พวกเราพึงจะได้มากกว่านี้ … ทำไมผมถึงพูดออกมาอย่างนั้น ทำไมน่ะเหรอ เอาไว้จะสาธยายให้ฟัง หลังจากอธิบายเกี่ยวกับ Microformats ก่อนก็แล้วกันครับ
Microformats นั้นหมายถึงการใช้ Standard ที่เรารัก (ไม่รู้ว่ารักจริงไหมนะ เฉพาะชาว ThaiCSS หรือเปล่า?) ให้มีความหมายมากที่สุด (semantic มากที่สุด) เท่าที่จะทำได้ มองง่าย ๆ ไปเลยเสียว่า มันคือแบบฝึกหัดในการทำให้ Website ของคุณนั้นมี Accessibility ที่สูง ๆ นั่นเอง Microformats ใช้ XHTML tags หลาย ๆ ตัวเช่น address, cite และ blockquote และ XHTML attributes หลาย ๆ ตัวเช่น rel, rev และ title เอามาทำให้ข้อมูลของคุณนั้นเกิดความหมาย เกิดประโยชน์มากที่สุด (ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ คุณมีความคิดในใจเกิดขึ้นว่า อะไรของมันวะเดี๋ยว tags เดี๋ยว attributes ให้ลองอ่าน ความหมายของมันในกระทู้นี้ Microformats ใช้ยากไหม? ไม่ยากครับ มันใช้ tags และ attribute ที่เราคุ้นเคยนี่แหละ นำมาใช้ในทางที่ดีที่สุด เกิดประโยชน์ที่สุด
ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ สักหนึ่งตัวอย่าง
สมมติว่าคุณอยากจะทำนามบัตร electronics วางใน website ของคุณ เราก็ใช้รูปแบบของ hCard จาก Microformats ทีนี้เราจะเขียนอย่างไร สมมติว่า ผมจะวางข้อมูลในการติดต่อของผมลงไปอย่างนี้
Radiz Sutthisoontorn
XHTML CSS Web Designer
Slice2CSS
9/6 Phaholyothin, Phaholyothin 35 Ladyao Jatujak BKK 10900 Thailand
Mobile: +66-841-234-567
Home: +66-212-345-67
ผมก็จะต้องเขียนออกมาแบบนี้
<div class=”vcard”>
<address class=”email fn”><a href=”mailto:info@slice2css.com”>Radiz Sutthisoontorn</a></address >
<address class=”title”>XHTML CSS Web Designer</address>
<address class=”org url”><a href=”http://www.slice2css.com”>Slice2CSS</a></address>
<address class=”adr”>
<span class=”street-address”>9/6 Phaholyothin, Phaholyothin 35</span>
<span class=”locality”>Ladyao Jatujak</span>
<span class=”region” title=”Bangkok”>BKK</span>
<span class=”postal-code”>10900</span>
<span class=”country-name”>Thailand</span>
</address>
<address class=”tel”><span class=”type”>Cell</span>: +66-841-234-567</address>
<address class=”tel”><span class=”type”>Home</span>: +66-212-345-67</address>
</div>
ถ้าเป็น vCard ต้องเขียน code ออกมาแบบนี้
BEGIN:VCARD
VERSION:3.0
N:Sutthisoontorn;Radiz
FN:Radiz Suttisoontorn
EMAIL;type=internet:info@slice2css.com
TITLE:XHTML CSS Web Designer
ORG:Slice2CSS;
URL:http://www.slice2css.com
ADR;TYPE=HOME:;; 9/6 Phaholyothin, Phaholyothin 35; Ladyao Jatujak; BKK; 10900; Thailand.
TEL;type=Mobile;type=pref:+66-841-234-567
TEL:type=Home;type=pref:+66-212-345-67
END:VCARD
คุณเห็นอะไรบ้างจากตัวอย่างข้างบนจะเห็นได้เลยว่า ผมใช้ XHTML Tags ที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ควรจะเป็น ใส่ class ที่เป็นคุณสมบัติของ hCard ของ Microformats ลงไป และ จุดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบที่ผมกล่าวถึงเมื่อกี้ยังมีการประกาศตัวแปรเป็นรูปแบบเดียวกับ vCard ของ XML อีกด้วย ทำงานร่วมกันได้อีกด้วย
ทำไมเราต้องใช้มัน มันมีประโยชน์อย่างไร
จะกล่าวถึงประโยชน์ของมันก่อนละกันนะครับว่า Microformats นั้นจะเป็นตัวกลางในการ share ความรู้ระหว่างมนุษย์ กับ จักรกลเพราะฉะนั้นลองนึกภาพดูว่าถ้าเราทำให้เจ้าจักรกลทั้งหลายเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ที่เราอยากรู้ อยากแชร์ให้กับคนอื่น ๆ เจ้าเครื่องจักรก็จะช่วยเราได้มากขึ้นทำประโยชน์ให้เรามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Search Engine ทั้งหลายจะสามารถเข้ามา index ข้อมูลของเราได้โดยถูกต้องแทบจะ 100% เลยเพราะว่ามันรู้แล้วว่า อ๊ะ การประกาศแบบนี้ การใช้ class แบบนี้ คือ รูปแบบของ Microfaormats และ ความหมายของมันคือ แบบนี้ ฉันก็จะเอาไปเก็บในหมวดหมู่ index นี้ สมมติว่ามันเจอ hCard ของผมมันก็จะทราบแล้วว่านี่เป็นข้อมูลในการติดต่อผมนะ อ่ะทีนี้มันก็จะเอาไป index ไว้ในหมวดหมู่ที่ควรจะอยู่ละ ทีนี้การสืบค้นก็จะง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ เจ้า browser ต่าง ๆ ก็สามารถเข้าใจ และ แยกแยะได้ด้วย
ทีนี้ผมจะกล่าวถึงการใช้งาน มองสองมุม มุมแรก user บางท่านอาจจะไม่ทราบไม่รู้ว่ามันจะช่วยได้อย่างไรฉันก็แค่ใช้ของฉันไปวัน ๆ หรือ สืบหา สืบค้นข้อมูลในสิ่งที่เราต้องการก็พอแล้ว แต่กลับกัน ทางฝั่ง developer ทั้งหลายจะสะดวกสบายขึ้นทำงานได้ง่ายขึ้นกับการจัดการข้อมูลของพวกเขา แต่ประเด็นสำคัญ และ เป็นประเด็นนรกแตกเลย คือ ถ้า ie6 ยังครองโลกอยู่แล้วล่ะก็ ทุกอย่างมันก็จบ เพราะอะไร? เพราะ เราจะไม่สามารถใช้คำสั่ง CSS 3 ได้เลย การเขียน CSS แบบ Descendant Selectors ก็จะไม่ได้ผล แล้วมันเกี่ยวไรกันฟะ? … เกี่ยวสิครับเพราะถ้าเขียนแบบ Descendant Selectors ไม่ได้ class ก็จะเยอะมาก มากเกินความจำเป็น ความโกลาหลสับสนวุ่นวายก็ยังคงอยู่ ต้องรอดูกันว่าเมื่อ IE8 มาแล้ว IE6 จะตายสนิทหรือไม่ เราจะได้ใช้เทคโนโลยีที่ควรใช้ แต่ยังใช้ไม่ได้กันเสียที
ในสภาวะของประเทศของเรา
ครับที่บอกไว้ข้างต้น ขอย้ำว่าไม่ใช่เฉพาะเรื่องเทคโนโลยี Microformats จะพูดรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย (ขอนิดนึงนะ) ICT ควรจะศึกษา และ ทำความเข้าใจบ้าง หรือ ทั้งหมดได้ก็ดี ICT ไม่ใส่ใจอะไรเลย ใช่หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็น Web Standards และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หรือว่ารู้แล้วไม่ทำ หรือ ว่าอย่างไร? ใครจะให้คำตอบได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้ารหัสภาษาทั้ง 3 แบบ จะเอาอันไหนให้เป็น standard หรือ จะเอาทั้ง 3 นั้นเป็น standard ก็ยังไม่ไปตกลง การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความรู้ทางไอที ฯลฯ เขียนไปถึงมุกดาหารบ้านผมยังไม่รู้จะหมดมั้ย แล้ว mict ตัวใหม่ที่บอกว่า สนับสนุนผู้พิการทางสายตา และ ผ่าน WAI พูดออกมาเต็มปากเต็มคำขนาดนั้น รู้แล้วจริง ๆ หรือไม่ อย่าผลาญภาษีของประชาชนเล่น และ มอบสิ่งที่ผิด ๆ ให้กับเยาวชนสิครับ ไม่คิดถึงตัวเอง ครอบครัวตัวเอง ลูกหลานตัวเอง ก็ให้คิดถึงประเทศชาติบ้านเมืองบ้าง อย่าไปถ่วงความเจริญเขา
องค์กรของรัฐควรจะทำอย่างไร ควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีครับ ควรจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เรื่อง WAI ถึงคุณจะทำผ่านได้จริง แต่การเข้ารหัสภาษาที่ไม่ตกลง screenreader ก็ช่วยอะไรไม่ได้อยู่ดี หวังไวัอย่างยิ่งว่า ผมจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เร็ว ๆ นี้ อาจจะไม่ใช่ ICT ที่อยากจะเปลี่ยนแปลงเอง แต่สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงคุณเอง
เจ้าของ hosting ต่าง ๆ ในไทย ควรตามเทคโนโลยีด้วยนะครับ เท่าที่รู้กันในบ้านเรา มีไม่กี่ที่ที่สามารถ run application-x มีไม่กี่ที่ที่สนับสนุน xml และ xhtml แบบเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นโอกาสในการพัฒนาก็จะน้อยลงไป จะทำอย่างไร ควรจะต้องเริ่มคิดกันได้แล้วนะครับ
บทสรุป
หาก Microformats เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ดีเยี่ยม สมบูรณ์ และ ทำงานได้เป็นประโยชน์สูงสุดได้จริง ๆ แล้วล่ะก็ Web 3.0 ก็คงใกล้เราเข้ามาทุกทีแล้วล่ะครับ ผู้ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ก็ไม่ใช่อื่นไกล Apple นี่เองคุณสามารถเข้าไปสำรวจได้ใน .mac ซึ่งถ้าคุณมี account อยู่คุณสามารถตรวจหาดูได้ใน code ของเขาได้ทันที เมื่อคุณ Login
ด้วยความเคารพ
9 Responses to รู้จักกับ Microformats