ข้อที่2: ทุกอย่างมันก็ไม่ได้เหมือนกันหมดไปเลยทีเดียว (ทั้ง ๆ ที่มันดูว่าเหมือนจะเหมือน) แล้วแต่ว่าคุณจะเผชิญกับปัญหาอะไร ที่เข้ามา
รู้กันใช่มั้ยครับว่าพอเราเริ่มทำเป็นแล้วมันมีเรื่องที่น่าเบื่อตามมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ปัญหาการ render การแสดงผลของในแต่ละ browser อีกซึ่งแต่ละ browser นั้นมีผู้พัฒนา และ มาตรฐานไม่เหมือนกันอีก เจอทีแรกผมก็สบถเลย แสดด … ทำไมมันไม่ทำมาให้มันเหมือน ๆ กันฟะ และ นั่นแหละที่ผมได้รู้จัก W3C และความฮิ … ของ browser บาง browser จุดเด่นความเก่งกาจของบาง browser ด้วย แม้นว่า W3C จะพยายามบัญญัติอะไรขึ้นมา มันก็พยายามทำอะไรที่เป็นตัวมันให้ได้สิน่า นั่นแหละ เหตุผลที่คุณต้องมานั่งเชค นั่ง hack นั่งปวดขมับปวดกบาล เพื่อให้มันแสดงผลได้เหมือนกันที่สุด (แต่ก็นะ ใช้ CSS Layout จะทำให้งานของเราแสดงผลได้แทบจะเหมือนกันเกือบ ๆ ทุก Modern Browser ฝรั่งเค้าบอกว่า 98% เชียวนะ ไม่รู้โม้ป่ะ) ทีนี้มันก็อยู่ที่เรา และ ลูกค้าของเราแล้วล่ะครับว่า requirement กันมาอย่างไร เพราะฉะนั้นคุณเองก็ต้องรอบคอบด้วยไม่ใช่ฆ่าตัวตาย เพราะงานตัวเอง
ข้อที่3: คุณต้องเลือกให้ได้ระหว่าง มโนภาพ และ ความเป็นจริง
การทำงานกับการใช้ชีวิต มันก็คล้าย ๆ กัน การดำเนินของมันก็ละม้ายคล้ายคลึง เมื่อทุก ๆ อย่างอยู่บนความไม่แน่นอน หรือ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เราก็ต้องใช้ชีวิต และ ความคิดของเราอย่างระมัดระวัง ต้องไตร่ตรองให้ดีถี่ถ้วน และ รอบคอบ ต้องเริ่มต้นจากการวางแผนเสมอ
เช่น เดียวกับการทำ site ขึ้นมาหนึ่ง ๆ เราต้องคิดให้ดีดี จุดเริ่มต้น จุดจบ หรือ ทางที่จะเดิน หรือ เติบโต มันจะไม่เหมือนเมื่อก่อนที่เรา เพิ่ม ๆ พูน ๆ อะไรลงไปเรื่อย ๆ มันคงขัดแย้งกับ ความคิดหรือความคาดหวังเดิม ๆ ของเรา ถ้าเราเดินไปโดยไม่มีกรอบ หรือ จุดหมาย มันก็จบถ้าคิดจะมี standard เป็นของตัวเองสักอันใน site ของคุณ คุณจะต้องตัดสิ่งที่ไม่จำเป็น คงไว้เพียงที่ใช้จริง ๆ เท่านั้น คุณต้องหมั่นเอาใจใส่ในทุก ๆ รายละเอียดจะเพิกเฉยไม่ได้ ต้องคิดถึงการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ (คิดถึงตัวเอง แล้วก็ต้องคิดถึงคนอื่น ๆ ด้วย) ต้องกลั่นกรองสิ่งที่จะเข้ามา และ สิ่งที่จะออกไป การdesign ไม่ใช่เพียงแต่ ออกแบบขึ้นมาจากหน้าตาก่อนเท่านั้น คุณต้องเริ่มตั้งแต่ content การลำดับความสำคัญ แล้วถึงลงมือ design หน้าตาออกมา เหมือนกับบทความก่อนหน้านี้ของผม รู้จัก และ เข้าใจใน web standard 1, 2 และ 3 คุณต้องเป็นอิสระจากปิศาจสองตัวในตัวคุณ นั่นคือ ใจของคุณเอง และ ความโลภ (มีบ้างแต่อย่าให้มันมากจนเกินไป ใช่ว่าจะหากินเพื่อตัวเองมีความสุขแต่อย่างเดียว) เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็อย่าลืม validate ตรวจทานความถูกต้องแก้ไขอะไรที่ผิดพลาด แต่บางครั้งเราก็ต้องเลือกระหว่าง การที่จะเป็นคนเก่ง มีหน้ามีตา หรือ ความถูกต้องเดินไปอย่างราบเรียบ สงบ ถ้าเราแยกแยะ หรือ ประสานมันได้อย่างลงตัวมันก็เป็นเรื่องดี เลือกหาจุดยืนของตัวคุณเองให้เจอ
วันนี้พูดกันแค่นี้ก่อน โปรดอ่านต่อครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
0 Responses to 12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standards (2)