Sitthiphorn Anthawonksa

CSS Positioning Layout กับอนาคตที่ยังไม่แน่นอน

ก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนเรื่อง ยุคสมัยของ CSS Layout เอาไว้ แล้วผมก็ค้างเรื่องสุดท้าย ซึ่งจะเป็นยุคสมัยของ CSS Layout ในอนาคต นั่นก็คือ การใช้ Position เพื่อทำ Layout หน้าเว็บ

มันยังไงกันแน่ กับเรื่องการใช้ Position สำหรับหน้าเว็บ อาจจะงง งง กัน แน่หละครับ อะไรที่เรายังไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เห็น ไม่เข้าใจมันย่อม งง เป็นธรรมดา ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ทำความเข้าใจ เดี๋ยวมันก็หายงง ไปเอง

ไม่ใช่แค่ Position เท่านั้น ที่จะมาเป็น พระเอก สำหรับการเขียน Layout ของเว็บในอนาคต Display คืออีกหนึ่ง Property ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน ทำตัวเป็นพระรองให้เราได้ใช้งาน

หลักการพื้นฐานง่ายๆ ก่อนที่จะเข้าสู่วังวนแห่งความมึนงง คือ "ให้เลิกคิดไปตั้งแต่ตอนนี้ว่า CSS เอาไว้จัดหน้าเว็บ อย่างเดียว" CSS มีไว้เพื่อจัดการหน้าเอกสารให้กับทุก
Devices ที่ถูกวางโครงสร้างการนำเสนอด้วยภาษา HTML ในโลกของ http เพราะเมื่อขึ้นด้วย Hypertext Transfer แล้วหละก็ มันก็คือ HTML วันยังค่ำ

"CSS Advanced Layout Module" (ชื่อเก่า) ซึ่งตอนนี้ อยู่ในขั้น WD คือ Working Draft และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "CSS Template Layout Module" เมื่อ เมษายน 2009

การทำลิสต์รูปภาพขนาดย่อ โดยที่ไม่มีเครื่องมือย่อขนาด ด้วย css

ตัวอย่างการเขียนลิสต์รูปภาพ

ผมยังนั่งงงอยู่กับชื่อหัวข้อบทความที่ผมเพิ่งตั้งไป เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าจะตั้งชื่อบทความนี้ว่ายังไง อาจจะด้วยเรื่องของความด้อยในด้านภาษาไทย ไม่แกร่งในภาษาอังกฤษ หัวเรื่องบทความก็เลยออกมาในลักษณะนี้ ในเมื่อหัวข้อเรื่องไม่สามารถที่จะอธิบายให้เห็นภาพได้ เอาเป็นว่า ดูภาพตัวอย่าง แล้วเดี๋ยวผมจะค่อยๆ สาธยายเอาเองแล้วกันครับ

ยุคสมัยของ CSS HTML Layout

เรากำลังอยู่ในช่วงไหนของการเดินทาง กับการเขียน CSS Layout กันแน่ หลายคนยังสงสัย หลายคนก็ไม่สงสัยหรืออีกไม่น้อยไม่อยากจะรู้ ขอแค่เพียงทำมาหากินได้ก็พอ เพราะของบางอย่างไม่ต้องรู้เพราะมองไม่เห็นประโยชน์ ว่ามันจะเอามาช่วยประคองชีวิตต่อไปอย่างไรได้

เรื่อง ยุคสมัยของการเขียน CSS Layout นี้ จริงๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ขนาดกู้วิกฤติการเมืองได้ แต่มันพอที่จะให้เรามองเห็นอนาคตข้างหน้าว่า ต่อไปแล้ว ชีวิตของเราในอาชีพนี้จะเดือนไปทางไหน

ผมขอแบ่งออกเป็น 3 ยุคใหญ่ๆ ดังนี้

  1. Table Layout
  2. Floating Layout (Tableless layout)
  3. Positioning Layout

อาชีพเขียน CSS

หลายๆ คนที่แวะเข้ามาอ่านบทความที่ ThaiCSS ชักจะเริ่มอ่านบทความที่ผมเขียนไม่รู้เรื่องบ้างแล้ว ตอนนี้ ผมพยายามปรับปรุงรูปแบบการเขียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เพื่อที่จะได้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น แต่ ในความรู้สึกของคนทั่วไป มันก็ยังยากที่จะเข้าใจอยู่ดี

เมื่อก่อนนี้ ผมคิดหาทางแก้ไขอยู่เหมือนกัน ว่าจะเขียนยังไงให้มันง่ายสำหรับคนทั่วไป

คิดไปคิดมา ก็ถึงบางอ้อ ว่า "ThaiCSS ไม่ได้มีสำหรับคนทั่วไป" นี่หว่า แสดงว่าหลุดกลุ่มเป้าหมาย เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมายมี ห้าคน ที่นั่งฟัง เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดเสียงดังๆ เพื่อให้คนที่เดินผ่านมาผ่านไปได้ยินหรือพยายามให้เขาเข้าใจด้วย รบกวนเขาเปล่าเปล่า ถ้ามีคนอื่นสนใจ เดี๋ยวเขาจะมานั่งฟังเอง แต่บางที ถ้าห้าคนที่นั่งอยู่หนีหมด ก็แสดงว่าหมดอนาคต ผมพับเสื่อกลับบ้านได้เลย

ไม่ฉะนั้น มันจะหลุดกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนใหญ่แล้ว คนที่คิดเขียน CSS ในตอนแรก คงคิดว่ามันง่ายๆ อะไรก็ได้ เช่น ผัดไทประตูผี หรือ ข้าวต้มราชวงศ์ อะไรประมาณนั้น แต่หารู้ไม่ว่า CSS มัน ซุปหน่อไม้ใส่ใบขิง ชัดๆ จัดเป็นอาหารเฉพาะกลุ่ม คิดจะกิน ต้องกินเป็นอาชีพ กินแบบพาร์ทไทม์ไม่ได้ แต่ก็อย่างว่า ตลาดมันไม่ค่อยกว้าง เสี่ยงต่อการอดตายสูง หากกินผิดหลัก ถ้าปฏิบัติตามมาตรฐาน อย. แล้ว รับรอง ได้ใบประกาศ แน่นอน ส่วนประกาศว่าเป็นอะไรนั่น ก็อีกอย่างหนึ่ง

แนวคิดการตั้งชื่อ Class และ ID ใน HTML เพื่อ Web 4.0 ตอนที่ 1

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่ยากที่สุดสิ่งหนึ่งในการเขียน HTML และ CSS คือ การตั้งชื่อ Class และ ID ถึงแม้ว่า ในตอนนี้จะหมดยุคของการตั้งชื่อ Class เพื่อเขียน CSS แล้วก็ตาม เราสามารถเขียน Combinator selectors หรือ Simple selectors แบบ Type Selector ผสมกับ Child Selector กันไปได้ใน CSS2.1 ถึงกระนั้น เราก็ยังจำเป็นต้องสร้าง Class เพราะว่า การตั้งชื่อ Class และ ID ไม่ได้เกี่ยวอะไรโดยตรงกับ CSS

Class และ ID เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในยุคของ Web 4.0 (อย่างช้า ก็ 5.0) เป็นต้นไป เพราะ หน้าเว็บนั้นๆ หรือเอกสารนั้นๆ จะถือตนเป็นฐานข้อมูล HTML ด้วยตัวของมันเอง กฎของเว็บยุคใหม่ สามารถอนุญาตให้เข้าถึง และ Share ข้อมูลกันได้จากหน้าเว็บโดยตรง เช่น นาย ก ไก่ ทำเว็บเกี่ยวกับ "การปลูกผักสวนครัว" นาย ข ไข่ ทำเว็บเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา นาย ค "ทำเว็บเกี่ยวกับการ ทำอาหาร" ทั้งสามคนนี้ สามารถที่จะ เขียนชุดภาษาคอมพิวเตอร์ใดๆ เพื่อที่จะไป เก็บข้อมูลจากหน้าเว็บ ตามที่เว็บนั้นๆ "ได้ Markup เอาไว้อย่างถูกวิธี และแยก Class และ ID ของข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ" ทั้งนี้ สามคนข้างต้น ต้องมีการตกลงเรื่องการเสนอข้อมูลทางกฎหมายต่อไป ว่าจะเอาไปแสดงยังไง อ้างอิงยังไง แต่เรื่องความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ "เซอร์ ทิม เบอร์นเนอส ลี" ก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า เรื่องความเสี่ยงของการเข้าไปนำข้อมูลจากหน้าเว็บของคนอื่น แล้วเอาออกมาใช้นั้น จะทำอย่างไร หรือมีมาตรการใด เพื่อเป็นรับรองได้ว่า ไม่ได้เป็นการทำเพื่อการโกง แฮ๊ก ล่วงเกินข้อมูลของผู้อื่น

ข่าวสั้น มาก จาก ThaiCSS

ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ที่อยู่ดีดี ข่าว IE9 ก็โผล่มาให้เราได้งงงวย และมันก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะว่า ทั้ง IE6, IE7 และ IE8 ตามใครเขาไม่ทันสักอัน ใครอยากอ่านเพิ่มเติม ก็ตามลิงค์ไปครับ (An Early Look At IE9 for Developers)

ผมนั่งมั่วอยู่นานมาก กว่าจะย้ายโฮสต์ ให้ ThaiCSS ได้ และผลออกมาก็เป็นดั่งที่เห็นครับ ข้อมูลหายเพียบ เอาน่า มือสมัครเล่น ทำกันแบบโฮมเมด ก็อย่างนี้แหละครับ หายไปก็เขียนใหม่ได้ ยังไม่ได้ตายจากกันไปไหน

Back to Top