Sitthiphorn Anthawonksa

Selectors Level 3 W3C Working Draft 10 March 2009

10 มีนาคม 2552 คือวันที่ W3C เรียก Last Call: Selectors Level 3 นั่นก็แสดงว่า ความจริงที่เราจะต้องเจอมันขยับเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นทุกที

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่า W3 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปล่อย CSS3 ออกมาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็เพราะว่า Windows 7 จะออกลุยตลาดอย่างช้าที่สุดก็ภายในปลายปีนี้ นั่นก็เป็นนิมิตหมายอันเลวร้ายสำหรับเว็บที่ไม่ได้มาตรฐานทั้งหลาย เพราะ IE8 จะนอนมากับ Windows 7 ด้วย ยกเว้นผู้ใช้ Windows ในยุโรป เพราะ M$ อาจจะไม่แถม IE8 มากับ Windows 7 เพราะ Opera เคยยื่นหนังสือร้องเรียนการผูกขาดตลาดบราวเซอร์อย่างไม่เป็นธรรมกับ EU มาก่อนหน้านี้

ช่างมันเหอะ กับเรื่องราวด้านบน เรามาดูกันว่า เราจะเริ่มทำตัวให้คุ้นชินกับ CSS3 กันยังไงได้บ้างนั่นต่างหาก

สำหรับผม ผมเขียน CSS3 ไปนานแล้ว แต่ใครที่ใช้ IE6 ก็คงไม่รู้ว่าผมเขียนอะไรไปบ้าง เพราะผมจงใจที่จะไม่ใช้ กับ IE ที่หลายๆ คนเห็นเวลาเอา IEs เข้าชม ThaiCSS หน้าเว็บมันดูไม่ได้บ้าง มันโย้นั่นโย้นี่ ก็คือผมตั้งใจให้มันเป็นอย่างนั้นเอง คือ ไม่อยากไปสนใจกับมันมาก ผมไม่ได้ทำเว็บเพื่อคนทุกคน แต่ผมแค่ทำเว็บเพื่อคนบางกลุ่ม

เพราะกลุ่มเป้าหมายทางด้านการสื่อสารของผม ไม่ใช่ “คนทั่วไป” อย่างที่หลายๆ คนเคยได้ยิน

อย่างต่ำไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือภายในปี 2557 ประเทศไทยถึงจะหันมาใช้ CSS3 แต่สำหรับเว็บบางประเภทแล้ว คงเริ่มใช้กันตั้งแต่วันนี้

CSS3 ปฐมบท

ผมตั้งใจมานาน ว่าผมจะเลิกเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเขียน CSS ก็เพราะว่า ความน่าสนใจที่มันมีอยู่มันหดหายไปหมดแล้ว ไม่ใช่ว่าเขียนได้ทุกอย่างแบบขั้นเทพ ผมก็ยังงูๆ ปลาๆ อยู่วันยังค่ำนั่นแหละ CSS มันก็คือ CSS มันไม่มีทางกลายไปเป็นปลาดุกได้อย่างแน่นอน แต่ ไม่ใช่สำหรับ CSS3 ผมตั้งใจไว้ว่า ถ้าหากผมยังจะอยากเขียน ผมจะเขียนเกี่ยวกับการใช้ CSS3 และอย่างอื่นที่มันอยู่ในตระกูลภาษาตกแต่งเหมือนกัน

หลายคนคงจะงง เพราะมันยังไม่ใช้เลย ใช่ครับ มันยังไม่มีความจำเป็นในตอนนี้ แต่ผมจำเป็นต้องเขียน (ถ้าคนอื่นยังอยากจะรู้นะครับ) เพราะอย่างน้อย อีกห้าปี CSS3 ถึงจะเดินทางมาถึง และถึงตอนนั้นผมคงไม่มีอารมณ์มานั่งเขียน CSS อีกแล้ว คงไปทำมาหากินอย่างอื่นได้แล้ว ตอนนี้ยังมีแรงเขียนก็เลยจะเขียนเอาไว้ก่อน เพราะว่าจริงๆ แล้วรูปแบบการนำไปใช้มันไม่ได้แตกต่างกันมา แต่สิ่งที่แตกต่างกันในเวอร์ชั่นก็คือรูปแบบการสั่งงานของ Selectors ที่จะอำนวยความสะดวกในขั้นสูงมากยิ่งขึ้นและเข้ากันกับภาษาอื่นๆ มากยิ่งขึ้น

สถานะ Last Call ของ CSS3 ในหมวดของ Selector แน่นิ่งมานาน แต่ผมก็ไม่รู้ว่าจะรีบไปใย โดยเฉพาะกับพี่ไทยทั้งหลาย เพราะ เอาแค่ CSS2 นี่ก็ยังเมากันอยู่ หรือดีมาหน่อยก็ CSS2.1 ก็ยังใช้กันไม่หวาดไม่ไหว สำหรับบางคนแล้ว มีแค่ Class Selector ก็คงถือว่ามากพอ แต่สำหรับคนบางกลุ่มแล้วมันคงไม่พอ

ขออภัยในความผิดพลาดครับ

เงียบหายไปเลยสำหรับผม ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ สำหรับนัดแรกที่ล่มไป เราะงานด่วนจี๋แบบไม่ได้หายใจหายคอ ทำให้ผมตัดสินใจเบี้ยวนัดทุกๆ คน ต้อง ขออภัยอีกครั้ง และอีกครั้งครับ

ถึงตอนนี้ ผมก็ยังไม่กล้าที่จะนัดวันเวลาเพื่อการนี้อีก คงต้องรอให้งานหลักของผมเสร็จถ้วนกระบวนความไปเป็นชิ้นๆ ก่อนดีกว่า คาดว่าคงต้องใช้เวลานานประมาณหลายเดือนพอสมควร ที่แน่ๆ คงต้องเป็นปี 2552 หรือปีหน้าโน่นแหละครับ

ช่วงเวลาทองอันน้อยนิดที่จะมีได้เพื่อการออนไลน์

ตอนนี้ผมต้องขอตัวกลับไปลุยงานที่ค้างต่อก่อนนะครับ

ขออภัยและขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

พร อันทะ

Google Chrome สงครามบราวเซอร์ยกใหม่

ผมไม่ขอพูดถึงในเรื่องของประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่น หรือรูปแบบการทำงานอะไรมากมาย แต่อยากจะสาธยายถึงความน่าจะเป็นเมื่อผลิตภัณฑ์นาม Google Chrome ออกมาสู่ตลาดเพื่อฟาดฟันสงครามกับเจ้าอื่นๆ

ใครที่ยังงงว่า Google Chrome คืออะไร ก็ตรงๆ ครับ มันคือ Web Browser จาก Google ที่หลายคนคงคิดว่า มันจะมาเป็นตัวฝัง IE8 แบบตายตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด

สำหรับคนที่ได้ลอง IE8 Beta 2 แล้วนั้น คงเห็นไปแล้วว่าของเขาดีในระดับหนึ่ง คือดีกว่าเดิมมาก สำหรับฝั่ง Web Accessibility คงยิ้มออก มีความสุขเล็กๆ เพราะอย่างน้อยในเรื่องของ CSS และ XHTML ก็ได้มากกว่าที่เคยเป็นมา ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมก็ยังไม่ทราบเช่นกัน

มาประกวด Web Accessibility กันเถอะครับ !!!

กระทรวง ICT ได้จัดการประกวดเว็บไซต์ืัที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นมาตรฐานและทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งผมมองว่าเป็นโครงการที่ดีมากเหมาะสำหรับบุคคลที่สนใจไม่ว่าจะเป็น Web Standard, XHTML, CSS ถ้าใครสนใจก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการประกวดได้ที่ การประกวดเว็บไซต์ืัที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility)

จากที่ผมได้ลองดาวน์โหลดรายละเอียดมาอ่าน (จริง ๆ ลงทะเบียนไปเรียบร้อยแล้วด้วย :P) เลยรู้ว่าเงื่อนไขข้อกำหนดเกี่ยวกับผลงานที่ส่งนั้นเค้าก็ไม่ได้ fix อะไรมาก โดยรวมก็คือ ทำเว็บมา 1 เว็บหรือเป็นเว็บที่มีอยู่แล้วก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พี่พร กะ พี่รดิสสนใจก็นำเว็บ thaicss ไปส่งได้เลยแต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องเป็นเว็บไซต์ที่ผ่านมาตรฐาน WCAG 2.0 level A ขึ้นไป และใ้ช้ XHTML 1.0 transitional ขึ้นไปด้วย หลัก ๆ ก็จะมีเท่านี้

การทำกล่องมุมโค้ง ด้วย CSS

โค้งทำไม โค้งแล้วไปไหน ถ้าไม่โค้งแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น โค้งกี่รูปแบบ การเขียน CSS เพื่อทำกล่องแบบมุมโค้งนั้น มันสำคัญเท่ากับปลูกมะละกอ หว่านหล้าไถนาหรือไม่ มะม่วงจะสุกทันวันขึ้นปีใหม่ไหม อย่าเพิ่งไปสนใจ สนใจกล่อง css ขอบโค้งเพรียวสมส่วนด้วยน้ำยาลดความอ้วนจากเราก่อน

ไม่ค่อยรุ้เรื่อง ใช่เลยครับ ช่วงนี้ผมพูดจาไม่ค่อยจะรู้เรื่องจับใจความไม่ได้ แต่วันนี้อยากจะมานั่งเขียนเรื่อง การทำ กล่อง css ขอบโค้ง พอดีเมื่อวันก่อนเจอสาวสวย สะโพกเว้าโค้งน่าสนใจ จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้อย่างดี

หลายคนคงผ่านตาเรื่อง การทำขอบโค้งด้วย Background เพียงรุปเดียวมาแล้ว ก็ไม่เป็นไร วันนี้ผมก็จะมาบอกแบบเดินนั่นแหละครับ ก็ พื้นหลังรูปเดียว แต่มันเป็นขอบโค้งได้ อ้าว ได้ยังไง

หลักการคือ การใช้ Background Position เพื่อกำหนดจุดแสดงแบบว่า จุดยืนของใคร จุดยืนของมัน จะได้แสดงผลเฉพาะที่ของพื้นหลังได้อย่างถูกต้อง

Element เปล่า คือสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ถามว่า Element เปล่า มีแล้วตำรวจจับไหม ก็ตอบได้ว่าตำรวจคงไม่จับ ถ้าไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถโดยไม่ใช้สมอลทอล์ค แต่มันจำเป็นต้องมี เพราะว่าเราอยากได้ขอบโค้งนี่

Back to Top