Sitthiphorn Anthawonksa

CSS3 Dropdown Navigation

ตัวอย่างการเขียน เมนูแบบ dropdown

เมื่อก่อนหรือแม้แต่ตอนนี้หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความคงแปลกใจว่า ทำไมผมเขียนบทความที่เกี่ยวกับเรื่อง Selectors ของ CSS ทั้งนั้น สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า Property และ Value ของ CSS นั้นมันตายตัวครับ จำง่าย ทำบ่อยๆ ก็จำได้ มันไม่เปลี่ยนไปไหนนอกจาก W3C ได้เปลี่ยนเวอร์ชั่นของ CSS ใหม่ เพิ่มหรือลดลง แต่ถ้าเป็น Selectors แล้วนั้น เราไม่ค่อยได้เขียนซ้ำกันสักเท่าไหร่ในแต่ละงาน เพราะงานแต่ละชิ้นที่ทำนั้นมันมีความต่างในตัวของมันเอง เราจึงไม่สามารถใช้ Selector เดิมๆ ในการจัดการได้ แต่ ทั้ง properties และ values นั้น มันเหมือนเดิม

นั่นคือสาเหตุหลักๆ ที่ผมพยายามเน้นให้ท่านทั้งหลายทำความเข้าใจและลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการสั่งงานของ CSS ด้วย Selectors ไปเรื่อย เพื่อจะได้หาความเหมาะสมกับงานได้

ในบทความนี้ก็เช่นกัน ทุกท่านจะเห็นว่าผมเขียน Selectors ของ CSS แปลกๆ มีแค่ Heading Level (X) เท่านั้นที่ถูกร้องขอให้มี Class

ยังเหมือนเดิม Class ของ HTML ไม่ได้มีไว้เพื่อให้เขียนคำสั่งของ CSS เข้าไป แต่เป็นการอนุโลมให้ใช้ได้ เพราะ Class เป็น Global Attribute เหมือนการเป็นของสาธารณะ ภาษาอื่นใดอยากมาใช้ก็เอาไปใช้ ไม่ว่ากัน

เพราะฉะนั้น การลด ขยะ Classes จึงถือเป็นความจำเป็นและเป็นหนึ่งในนโยบาย ประชาวิวัฒน์ ในยุค พ.ศ. 2554 ของเรา

ภาษา CSS มีความสามารถมากมายมาให้ใช้แล้ว ก็จงใช้ อย่าไปขยันน้อย ดันทุรังใช้แต่ Class และ ID Selectors ในการทำงาน

CSS3 Pseudo-elements

ซุปเปอร์มาริโอ้ และผองเพื่อน

Pseudo-elements ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเข้าถึงภาษาโครงสร้าง (xhtml, html, xml ฯลฯ) ที่ CSS Selectors อื่นๆ เข้าไม่ถึง ซึ่งใช้ในรูปแบบ การหลอกว่ามี element นั้นๆ อยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ “แบงค์” ได้เขียนอธิบายเรื่อง “เรียนรู้การใช้งาน CSS Generated Content” เอาไว้ โดยรูปแบบของ Selectors นั้นใช้ CSS2 และเน้นไปที่ :before และ :after ซึ่งทำงานได้เหมือนกัน

Pseudo-elements

  1. ::first-line คือ แถวแรก
  2. ::first-letter คือ ตัวแรก
  3. ::before คือ ก่อน (x)
  4. ::after คือ หลัง (x)

ประโยชน์หลักและโดดเด่นของ Selectors ชุดนี้คือการจัดการหน้าเอกสารในรูปแบบ นิตยสารออนไลน์ หรือ จัดหน้าให้คล้ายหรือเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์ หรือจัดหน้าให้กับ Printer

เสื้อยืด ThaiCSS

เสื้อ ThaiCSS สีชมพู สกรีนสีชมพู

หลังจากนั่งรอมาหลายเพลา ก็ได้เวลาออกลาย ไว้ใส่เล่น

ล๊อตนี้เราไม่ขาย เอามาแจก ทั้งสิ้น 24 ตัว และมีคนจองเจ้าของหมดแล้ว!! อิอิ…

CSS Collapsing margins การยุบรวมกันของ margins ใน CSS

แมงมุมขยุ้มหยากไย่

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ผมตั้งใจเขียนบทความเรื่อง CSS Basic box model แต่บังเอิญดันไปติดเรื่องความยากในการอธิบายในเรื่องของ Margins ซึ่งอาจจะทำให้บทความยาวไปถึง เบตง ได้ จึงตัดตอนเอาเรื่อง margins ออกมาก่อน แล้วค่อยเขียนเรื่อง box model คงทำให้หนุ่มสาวทั้งหลายเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

อะไรเอ่ย ที่ทำให้เราเกิดการ “งุนงง” ในชีวิตเป็นอย่างมาก เมื่อการเขียน CSS สั่งงาน HTML แล้วมันไม่ทำตาม เฉกเช่นเดียวกับการใส่ margin ให้กับ element ที่เราต้องการแต่ดันไม่แสดงผล

เราไม่ได้เขียน CSS ผิดแต่ประการใด ไม่เลย เราไม่ได้เขียนผิด แต่เป็นแค่เพียงเราไม่เข้าใจ กฎ บางข้อของ CSS เท่านั้นเอง ถ้าใครเข้าใจแล้วก็ ข้ามไปเลยนะขอรับ

หรืออาจเป็นเพราะเราเสพดราม่า มากจนเกินไป (ผมก็ติด)

หนุ่มสาวเอย จงมาเสพ margins ให้กระจ่างโดยพลัน

การยุบรวมกันของ Margins มันคืออะไรวะ มันยุบรวมกัน หรือมันรวมตัวกันได้ด้วยหรือ การรวมกันมันเหมือนที่ พธม. หรือ นปช. รวมกันไหม โอ้ว ช่างหลายหลากคำถามเหลือเกิน

ทำความเข้าใจ CSS3 Transitions

ภาพตัวอย่างการเขียน css3 transition

ไม่ได้ว่างมาก หรือไม่ได้ คึกเกินปกติ แต่เป็นความตั้งใจใหม่ ที่จะให้ thaicss.com มีบทความใหม่ ทุกๆ 7 วัน หรือ 1 เดือนอย่างน้อยก็ให้ได้ 4 บทความ วันนี้จึงมีบทความใหม่เพิ่มขึ้นมา เหมือนดั่งไม่เคยปรากฎมาาก่อน เพราะก่อนหน้านี้ เป็นๆ หายๆ ตลอดเวลา บางคราสองเดือนยังไม่มีสักบทความ เอาเป็นว่ามาเริ่มนับกันใหม่แล้วกันขอรับ

สำหรับวันนี้ เรายังอยู่ในเรื่องของ CSS เหมือนเดิม ขอพูดถึงเรื่อง การ Transitions ของ CSS3 ครับ

ในความหมายของ CSS การ Transitions คือ การเปลี่ยนค่า ใดๆ จาก A ไป B โดยระหว่างที่เปลี่ยนค่านั้น เราสามารถเห็นค่าความเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ก่อนหน้านี้ ใน CSS เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราไม่สามารถมองเห็นการ ถ่ายโอนค่า เช่น ถ้าเราเรา สั่ง :hover แล้วให้เปลี่ยนพื้นหลังจากสี ดำ เป็นสีขาว การเปลี่ยนค่านั้นจะเปลี่ยนไปทันที โดยที่เราไม่เห็นว่า สีดำมันค่อยๆ จางลงจนกลายเป็นสีขาว
จนกระทั่ง CSS3 เข้ามาและมี Transitions Module เราจึงสามารถทำให้การเปลี่ยนค่านั้นยืดเวลาออกไป จากดำค่อยๆ เป็นเทา จาง จาง จาง และขาวไปในที่สุด โดยเราสามารถกำหนดการ transition ให้กับ property ของ CSS ก็ได้ โดยไม่เกินเลยเงื่อนไขที่ ภาษากำหนดไว้

CSS3 Box Shadow : ทำ Drop shadow ด้วย CSS3

ดอกไม้

บทความเปิดศักราชใหม่ จาก thaicss.com เรามาว่ากันในเรื่องง่ายๆ แต่ใช้ได้ใช้ดี โดยไม่ต้องพึ่งพา ไดเกียว แต่ประการใด นั่นก็คือการทำเงา ให้กับ Element ใดๆ ที่เราต้องการ

CSS3 Box Shadow เป็น Property ที่บรรจุเอาไว้ใน CSS Backgrounds and Border Module Level 3 ถือเป็น Miscellaneous Effects ของ Module นี้ โดยใน Miscellaneous Effects มี 2 ตัว ตัวแรกคือ box-shadow ที่กำลังจะพูดถึง และตัวที่สองคือ box-decoration-break เอาไว้พูดถึงในโอกาสหน้า (ถ้ายังมีอยู่)

box-shadow สามารถใส่ค่าการทำ drop-shadow ได้มากกว่า 1 สี โดยการใช้ คอมม่า ในการแบ่งการสั่งงาน

หลักการสั่งงานของคำสั่งมีดังนี้
ตัวอย่าง Code:

div {
box-shadow: 5px 5px 10px 10px rgba(50,50,50,.4);
}

หรือ

* {box-shadow: 5px 5px 15px 5px rgba(50, 50, 50, .5) inset;}
  1. เลขค่าแรก คือการสั่งงาน เงา แนวนอน เลขบวกคือ ด้านขวา เลขลบ คือด้านซ้าย
  2. เลขตัวที่สอง คือการสั่งงาน แนวตั้ง เลขบวกคือ ด้านล่าง เลขลบ คือด้านบน
  3. เลขตัวที่สาม คือการสั่ง ค่าการเบลอ ว่าจะเบลอประมาณไหน เริ่มจากค่า โรงงานคือ ศูนย์ และเป็นค่าบวก
  4. เลขตัวที่สี่ คือการสั่งขอบเขตการขยายตัวของการเบลอ (a spread distance) ใช้เป็นค่า บวกเท่านั้น
  5. สีของเงา สามารถใส่ได้ตามหลักการของ W3C ซึ่ง อ้างอิงจาก CSS Colors Module Level 3
  6. inset คือคำสั่งให้ เงาเด้งกลับเข้าไปในกล่อง ซึ่งคล้ายๆ การสั่ง inner shadow ของ Adobe Photoshop

Back to Top