๑. ยามเช้า
เสียงเฮฮา พร้อมเต้นประกอบท่าแอโรบิคของนักเรียนประมาณ 80 คน พร้อมกับครู 2 คน ที่อยู่กลางสนามของโรงเรียนในยามเช้า ทำให้ผมต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ มันเป็นการอุ่นเครื่องคลายความหนาวของครูๆ และนักเรียนของโรงเรียนบ้านเสาหิน ในหมู่บ้านที่ยามเช้าอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 10 องศา
นักเรียนจาก 6 หย่อมหมู่บ้าน มารวมและเรียนกันที่โรงเรียนแห่งนี้ มีการเรียนการสอน ป.1-ป.6 และครูจริงๆ 2 คน อีก 2 คนเป็นผู้ช่วย
๒. เล่าย้อน
ย้อนกลับไปวันแรกที่พวกเรามาถึง ผมกับเพื่อนอีก 2 คนเดินดุ่มๆ เข้าไปในบริเวณโรงเรียน สิ่งที่แปลกตาแต่ผมเข้าใจได้ คือเด็กนักเรียนทุกคน ไม่ว่าใครก็ตามเห็นพวกเราแล้วยกมือไหว้กันหมด ทำให้ผมนึกถึงโรงเรียนที่ผมเรียนเมื่อ 20 ปีก่อน ที่เป็นโรงเรียนชนบทเหมือนกันและสภาพของโรงเรียนไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่ บ้านผมพูดภาษาอีสาน นักเรียนแถบนี้ก็พูดอีกแบบหนึ่ง
เสาหิน ตำบลเล็กๆ ของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่กลางหุบเขา ติดชายแดนพม่า มีหมู่บ้านเล็กๆ อยู่กันเป็นหย่อมๆ หมู่บ้านละ 10-80 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงและไทใหญ่ ถือบัตรสีชมพู มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ถือบัตรแสดงตนเป็นคนไทยและอีกส่วนหนึ่งไม่มีบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้านแสดงความมีตัวตนใดๆ
ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้น้ำปะปาดอย
ระยะทางเกือบร้อยกิโลเมตรจากตัวอำเภอแม่สะเรียง มุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าไปเกือบๆ จะเหยียบชายแดนพม่า ด้วยรถกระบะ 4×4 เท่านั้น ถ้าไม่ขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็ต้องเป็นรถสิบล้อขนของส่งเข้าพม่าด้านชายแดนเข้าสู่บ้านท่าทราย (ของพม่า) ซึ่งเป็นด่านผ่อนปรนภาษี
ที่ผมบอกต้องกระบะขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้นก็เพราะว่าสภาพถนนที่เรียกได้ ไม่เต็มปากว่ามันเป็นถนน เพราะบางส่วนต้องวิ่งบนห้วย ใช่ครับ ขับรถล่องไปตามลำห้วย พวกเราใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมงกับระยะทาง 94 กิโลเมตร (พักกินข้าวที่ด่านยอดดอย) ในฤดูฝน สิ่งที่สิงห์บรรทุกสิบล้อทั้งหลายหรือคนที่จะเข้าไปยังเสาหินต้องเตรียมไป ด้วยคือ เต็นท์และอาหารสำรองระหว่างทาง เพราะบางครั้งน้ำป่าไหลแรงทำให้ไม่สามารถขับรถข้ามห้วยไปได้ ต้องนั่งรอ นอนรอกัน
ตำบลเสาหิน มีอะไรดีผมจึงต้องเข้าไปดู บอกตรงๆ ตรงนี้ว่า ไม่ได้มีอะไรแตกต่างหากมองเพียงผิวเผิน และแตกต่างจากหมู่บ้านโดยทั่วไปในเมืองไทยเป็นอย่างมากหากมองง่ายๆ เช่น ถนนหนทางไม่ดี ไฟฟ้าไม่มี 90% ของบ้านที่อยู่ตรงนั้นเป็นบ้านหลังคามุงใบจาก น้อยมาที่จะมีสังกะสีหรือกระเบื้อง
แต่ กะเทยเข้าถึงแล้ว!
สิ่งที่ผมเสียดายที่สุดในชีวิตสิ่งหนึ่งนั่นก็คือ “ผมไถนาโดยใช้ควายไม่เป็น” ทั้งๆ ที่ผมเป็นลูกชาวนาแท้ๆ แม้จะเป็นเพียงแค่การทำนาเพื่อกินในครอบครัว ไม่ถึงกับต้องเอาไปขาย แต่ก็ยังถือเป็นชาวนา ก็ยังดีที่ผมยังดำนา เกี่ยวข้าว ตกกล้าเป็น ผมไม่โทษพ่อของผม ที่ไม่ยอมสอนผมไถนา ท่านอาจจะอยากสอน แต่ว่าตอนนั้นผมอาจจะขี้เกียจไม่อยากเรียนรู้เองก็ได้ แต่คิดว่าคงไม่ใช่ สาเหตุน่าจะมาจากความขี้โรคของผมมากกว่า เพราะอีสานบ้านผมถ้าจะสอนลูกๆ จับไถก็ให้จับกันตั้งแต่ เก้าขวบ สิบขวบ และในช่วงนั้นผมยังเข้าโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น
เกือบยี่สิบปีผ่านไป ที่บ้านผมยังทำนา แต่ไม่เหมือนเดิม เพราะพ่อผมจากไปนานแล้ว เหลือที่นาไม่กี่ไร่ให้ลูกๆ จัดแบ่งกันทำกินต่อ ส่วนตัวผมต้องไปหาเอาเองข้างหน้าไม่มีมรดกหรือผืนดินให้ เพราะถือว่าเป็นลูกผู้ชายที่ได้รับการส่งเสียให้เรียนจบปริญญาตรีโดยงบ กยศ. ของรัฐบาลมาแล้ว
ผมไม่ได้ดูทีวีนานแล้ว ไม่ได้ดูในที่นี้หมายถึงไม่ได้ดูจริงๆ จังๆ และไม่ได้เป็นรายกายการทีวี อาจจะนับชั่วโมงได้เลย ถ้านับเอาแบบผ่านๆ ผมหันหลังให้ทีวีไปตั้งแต่ต้นปี 2550 เสพข่าวสารบ้านเมืองจากสื่อทางอินเทอร์เน็ตแทน แต่สิ่งที่ผมขาดไม่ได้คือหนังสือและนิตยสารที่ผมต้องอ่านประจำ
ผมยังรู้สึกว่าตัวหนังสือบนกระดาษ ที่ถูกกลั่นกลองออกมาจากคนทำงานสู่คนเสพงานจริงๆ แล้วเราสามารถจินตนาการต่อจากตัวหนังสือเหล่านั้นได้ ไม่ใช่เห็นภาพชัดเจนแล้วก็ล้มหายตายจากไป
สิ่งหนึ่งที่ผมรักความเป็นหนังสือก็คือ สามารถเปิดอ่านได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊ก ยกเว้นถ้าต้องการอ่านในยามค่ำคืน หรือสถานที่มืด จำเป็นก็ต้องหาไฟมาส่องสว่าง นั่นยังเป็นเสน่ห์ของหนังสือกับผม ไม่ได้ดูทีวี มันทำให้ชีวิตผมพลาดอะไรไปหรือไม่ ผมก็คงตอบแบบผมว่า ผมไม่ได้รู้สึกขาดอะไรไป เพราะสิ่งที่มีอยู่ในทีวีบ้านเรา โดยเฉพาะที่เป็นฟรีทีวี แทบไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับผมเลย ยกเว้นแต่ว่าจะมีรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศทีมโปรดเท่านั้นเอง
นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบันคือใคร เด็กนักเรียนตอบว่า ไม่รู้ แล้วผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคือใคร คำตอบที่ได้มาคือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผมจะไม่รู้สึกอะไรมาก ถ้าหากคนที่ตอบคำถามนี้อายุสามขวบ
แต่สำหรับเรื่องที่ผมยกมานั้น มันคือคำตอบของเด็ก ม.6
อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย อย่าคิดว่าเรื่องแบบนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ผมเรียนมาในโรงเรียนมัธยมที่เด็ก ม.3 บางคน ยังอ่านหนังสือไม่ออกด้วยซ้ำ หรือนักเรียนชั้น ม. 1 ท่องกอ ไก่ ไม่ถึง ฮอ นกฮูก มันเป็นเรื่องขำไม่ออกเท่าไหร่ ใครที่ได้ร่ำเรียนมาในเมืองกรุงหรูหรา หรือได้รับการศึกษาจากโรงเรียนในตัวจังหวัดมันก็ไม่เท่าไหร่ เหตุการณ์แบบนี้คงไม่เกิดขึ้น แต่สำหรับเด็กต่างจังหวัดไกลปืนเที่ยงด้วยแล้ว มันอาจจะเป็นเรื่องสามัญธรรมดา เรื่องปากท้องของครอบครัวย่อมสำคัญกว่า ลูกๆ ไม่ได้ไปโรงเรียนไม่เป็นไร แต่ขอให้ได้ไปช่วยผู้ปกครองตัดอ้อยรับจ้าง หรือเกี่ยวข้าว รับจ้างหาเงินซื้อข้าวสารก่อน
ครึ่งเดือน, สองสัปดาห์, สิบห้าวัน หรือแล้วแต่จะประมาณการ นั่นคือระยะเวลาที่ผมใช้ชีวิตอยู่ที่หาดใหญ่ ในช่วงเวลาดั่งที่กล่าวมาข้างต้น เงียบ เงียบ เรื่อย เรื่อย เอื่อย เอื่อย แต่ปรอดโปร่ง ทำให้มีความสุขกับการได้หยุดคิด หยุดวิ่ง ในหลาย หลาย เรื่องราวของชีวิต
เครื่องบินกำลังไต่ระดับนสู่ขึ้นสู่ระดับความสูงมาตรฐาน กลุ่มก้อนเมฆที่ลอยล่องอยู่เบื้องล่าง ทำให้เกิดความรู้สึกแปลกๆ เพราะปรกติ จะแหงนหน้ามองก้อนเมฆ แต่บางครั้งก็ได้มีโอกาศก้มหน้ามองก้อนเมฆ กับเขาบ้าง