ลับสมองไปกับ float ตอนที่ 1
browser ทุกวันนี้ ต่างก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราสร้าง layout จาก css ได้ง่ายมากขึ้นด้วย float เป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการวาง layout ด้วย css แต่มันก็ไม่ใช่ทางออกทางเดียวนะครับ เพียงแต่ว่ามันง่ายในการใช้งาน ง่ายในการควบคุม เลยทำให้เป็นที่นิยมกันแพร่หลายมากกว่าวิธีอื่น ๆ
จากที่โอ๊ตเขียนไปเมื่อหลายเดือนก่อน ในบทความ “แนวทาง ในการแก้ไขปัญหา Float Model” ในส่วนของ css hack นั้น วันนี้ผมจะพูดถึง float จาก basic ไม่รู้ว่าจะง่ายพอเข้าใจ หรือ ทำให้งงกันไปใหญ่ ไม่รู้นะ เพราะหลายอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ใน webboard กับหลายคำถามที่ผมได้เข้าไปอ่าน ตอบบ้างไม่ตอบบ้างไม่ว่ากันนะ ยังเห็นว่าเป็นปัญหาเดียวกันอยู่ ซึ่งหลาย ๆ คนเห็นเป็นสิ่งที่งอกง่อยควรมองข้ามไป แต่ฐางคนเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีในการปูพื้นเพื่อพัฒนาตนเองนะครับ (พออ่านถึงตอนนี้มีใครเดือดดาล ก็กด “9” หรือ ชื่นชอบกด “4” กด กด กด) จุดประสงค์จริง ๆ แล้ว คืออยากจะปูพื้นฐานให้แน่น ๆ กันมากกว่า ไม่อยากฝึกให้ทำอะไรฉาบฉวยพอเอาตัวรอด พอทำได้ ภาษาบ้านผมเรียก “พอก่ำก่า” “พอกะเทิน” “โชว์กล้ามดาก” หรือ คนกรุงเรียก “เกรียน” นั่นเอง แล้วไปบอกว่าเอ้ย กูทำได้ กูเก่ง …. (ช่าง “ตื๊ดดด” พวกเขาเถอะครับ) เข้าเรื่องดีกว่า