Web Standards

12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standards (2)

ข้อที่2: ทุกอย่างมันก็ไม่ได้เหมือนกันหมดไปเลยทีเดียว (ทั้ง ๆ ที่มันดูว่าเหมือนจะเหมือน) แล้วแต่ว่าคุณจะเผชิญกับปัญหาอะไร ที่เข้ามา

รู้กันใช่มั้ยครับว่าพอเราเริ่มทำเป็นแล้วมันมีเรื่องที่น่าเบื่อตามมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ปัญหาการ render การแสดงผลของในแต่ละ browser อีกซึ่งแต่ละ browser นั้นมีผู้พัฒนา และ มาตรฐานไม่เหมือนกันอีก เจอทีแรกผมก็สบถเลย แสดด … ทำไมมันไม่ทำมาให้มันเหมือน ๆ กันฟะ และ นั่นแหละที่ผมได้รู้จัก W3C และความฮิ … ของ browser บาง browser จุดเด่นความเก่งกาจของบาง browser ด้วย แม้นว่า W3C จะพยายามบัญญัติอะไรขึ้นมา มันก็พยายามทำอะไรที่เป็นตัวมันให้ได้สิน่า นั่นแหละ เหตุผลที่คุณต้องมานั่งเชค นั่ง hack นั่งปวดขมับปวดกบาล เพื่อให้มันแสดงผลได้เหมือนกันที่สุด (แต่ก็นะ ใช้ CSS Layout จะทำให้งานของเราแสดงผลได้แทบจะเหมือนกันเกือบ ๆ ทุก Modern Browser ฝรั่งเค้าบอกว่า 98% เชียวนะ ไม่รู้โม้ป่ะ) ทีนี้มันก็อยู่ที่เรา และ ลูกค้าของเราแล้วล่ะครับว่า requirement กันมาอย่างไร เพราะฉะนั้นคุณเองก็ต้องรอบคอบด้วยไม่ใช่ฆ่าตัวตาย เพราะงานตัวเอง

12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standards

ย้อนกลับไปเมื่อ 1 ปีเกือบ ๆ สองปี ที่แล้วที่ผมยังใหม่สำหรับ CSS-XHTML อยู่ มีอะไรหลายอย่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวปรับระบบความคิดต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง ด้วยความคุ้นชินกับการ design ในแบบ old school อยู่ ปัญหาของผมมันมีหลายอย่างมากมายมโหระทึกเลย จะเอาเจ้านี่ไว้ตรงนั้น แล้วจะเอาเจ้านั่นลอยไว้ตรงนี้ มันอะไรของมันนักหนาฟะ …

สารพัดจะสบถตามประสาคนปากจัดน่ะนะ เวลาคร่าว ๆ ในการปรับตัวให้คุ้นชินกับมันก็ประมาณเกือบ ๆ 5 เดือนเลยทีเดียว และ อีกประมาณ 2 – 3 เดือนสำหรับการปรับตัวให้หลุดพ้นจากการคิด การออกแบบในแบบเดิม ๆ (เป็นอิสรภาพจากตาราง) ถึงกระนั้นเวลา 1 ปี ผมก็ยังไม่ได้เข้าถึงขั้น advance coding เท่าไรนัก เพิ่งเริ่ม hand coding รวบรัดตัดตอนก็เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านนี้เท่านั้นเอง
มองไปยังสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน คุณจะเห็นว่า มีนักเขียนเก่ง ๆ หลาย ๆ ท่านที่มีประสบการณ์เขียนหนังสือดีดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ (แต่ยังไม่ใช่ในบ้านเรา) เขียนเกี่ยวกับ CSS เขียนเกี่ยวกับการออกแบบ การลำดับความคิด เกี่ยวกับการทำงานอย่างไรให้ถูกต้องเป็นไปตาม Standards จะมีใครบ้างที่เห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องท้าทาย และ น่าทดลองทำในบ้านเราบ้าง (แต่เป็นเรื่องน่ายินดี ที่ตอนนี้ website ใหญ่ ๆ ในไทยเริ่มเคลื่อนไหวกันแล้ว เช่น sanook.com (เฝ้ารอวัน debut ในเร็ววันนี้อย่างใจจดใจจ่อ), kapook.com, mThai.com, pantip.com และ อื่น ๆ ที่ผมยังไม่ได้ตรวจทานทั้งหมด

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 3 (จบ)


Part 3: คิด และ มองอย่าง ศิลปิน

ศิลปินถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และ ความรู้สึกของพวกเขา ผ่านความสวยงาม พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจ จากสิ่งต่าง ๆ บนโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา และ พวกเขาก็เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับสิ่งต่าง ๆ อื่น ๆ ด้วย การออกแบบ website นั้นก็คือ ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองมาเรียบร้อยแล้วว่าเป็นประโยชน์, เป็นความคิดที่สื่อออกมาถึงผู้รับได้ และ ข้อมูลนั้นสามารถถ่ายทอด และ ดึงดูดเย้ายวนไปถึงผู้รับได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การออกแบบโครงร่างภายนอก คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถทางศิลป์ล้วน ๆ การคิดคำนึงถึงภาพที่เราจะออกแบบมาให้สวยงามวาด หรือ ออกแบบ อย่างไรออกมาให้สวยมันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำ แต่การนำมาใช้กับการทำ website นั้นมันต้องคิดลึกซึ้งไปกว่านั้น เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงแต่ภาพที่เราวาดออกมาเพียงเท่านั้น มันไม่ได้มีไว้เพื่อดูเพียงตาเปล่า หากทว่ามันมีส่วนที่จับต้องได้ นำไปใช้ต่อได้ เช่น ภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูล content ต่าง ๆ ที่เป็นตัวหนังสือที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อ เช่น เก็บไว้อ่านเก็บไปอ้างถึงได้

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 2

Part 2: คิดและมองอย่าง วิศวกร

วิศวกรต่างรังสรรค์ผลงานต่าง ๆ ตามหลักวิธีการ และ บรรทัดฐานที่แน่นอน ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ และ มีจุดประสงค์จุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ เช่น ไม้กระดานฝาบ้านต้องเรียงต่อกันอย่างเป็นระบบระเบียบ กำแพงต้องตั้งฉากกับพื้น เกียร์ต้องประกอบด้วยเฟืองที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นสัดเป็นส่วน

วิศวกรจะคิดคำนวณวิธีการ และ แนวทางแก้ไขปัญหาต่าง หรือ วิเคราะห์การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสร้างงานของพวกเขาอย่างรอบคอบที่สุด ค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ ดำเนินตามขั้นตอนไปที่ละขั้นเพื่อลดความเสี่ยง และ ได้ผลงานที่เป็นมาตรฐาน ด้วยการทำความเข้าใจในปัญหา เครื่องมือ และ อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการทำงานในแต่ละครั้งอย่างพิถีพิถันและรอบคอบ

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards

เพื่อน ๆ Designer หลายท่าน รวมถึงผมนั้น ต่างรังสรรค์ผลงานของตนเองมาจากความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะล้วน ๆ คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เราจะมองงานของเราโดยรวมนั้นเป็นภาพ ๆ หนึ่งซึ่งเราจะปรุงเสริมเติมแต่งลงไปอย่างไร ส่วนการ code นั้นแทบจะไม่มีการได้คำนึงถึงเลย เราบางคนใช้ XHTML และ CSS ไปเรื่อยเปื่อยแบบตามมีตามเกิด จะมีใครบ้างที่เกิดความสงสัย ใคร่รู้ว่า ความหมายโดยแท้จริงนั้นมันมีอะไรอยู่บ้าง เราเพียงแต่คิดว่าเราจะเรียงกล่องเหล่านั้นออกมาให้สวยงามอย่างไร เคยคิดที่จะศึกษาธรรมชาติของมันโดยแท้จริงไหม CSS กับการคิดนอกกรอบ (สี่เหลี่ยม ตอนที่ 1) และ CSS กับการคิดนอกกรอบ (สี่เหลี่ยม ตอนที่ 2) ส่วนใหญ่โดยธรรมชาติของพวกเราแล้วเราเพียงแต่คิดง่าย ๆ ว่า ขอแค่มันออกมาดูดีก็เป็นพอแล้ว คงเป็นส่วนน้อยที่อยากจะศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของ Web Standards นั้นเพื่อที่จะนำผลประโยชน์ที่จะได้มาใช้ให้เกิดผลกับงานของตนเอง และ ผู้ใช้ให้มากที่สุด

เราคงต้องจัดลำดับความคิดของเราใหม่หากเราต้องการที่จะเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Web Standards ทำไม? เพราะเราต้องคำนึงถึงในทุก ๆ รายละเอียดก่อนที่จะนำเสนอทุก ๆ อย่างที่เราต้องการจะสื่อออกไป เพราะทุก ๆ อย่างละเอียดอ่อน, มีความหมาย และ มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง scope ง่าย ๆ คือ เราต้องมอง และ คิดในแง่มุมที่แตกต่างไป โดยหลัก ๆ แล้วมีดังนี้

  1. คิดและมองอย่าง นักเขียน
  2. คิดและมองอย่าง วิศวกร
  3. คิดและมองอย่าง ศิลปิน

Web Standards

หลังจากที่ได้พูดถึง Web Standard ไปแล้ว คราวนี้ ผมขอพูดถึง Web Standards กันบ้าง อ้า อย่าเพิ่งงง ครับ 2 คำด้านบน มันต่างกันที่ เอกพจน์ กับ พหุพจน์ แน่นอนว่า Web Standards มันไม่ได้มี มาตรฐานเดียว มันมีหลายมาตรฐาน ตามลักษณะของภาษาและการใช้งาน ซึ่งจากที่ผมเคยพูดมาทั้งหมด ผมอาศัยข้อมูลอ้างอิงจาก W3C (World Wide Web Consortium) และ WaSP (The Web Standards Project)

โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานของแต่ละภาษาและแต่ละเวอร์ชั่น คร่าวๆ ดังต่อไปนี้

Structural and Semantic Languages

Back to Top