เจ้าของ Website หลาย ๆ คนต่างก็อยากได้ผลลัพธ์ทาง SEO ที่สูง ๆ บางคนใช้วิธีการโกงต่าง ๆ นานา เพื่อให้ Website ของพวกเขานั้นได้ผลลัพธ์ทาง SEO อย่างที่คาดหวังไว้ ในทางเดียวกัน ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้จึงทำให้เกิดอาชีพ search engine optimizer เพื่อสนองตอบความต้องการ เจ้าของ Website ต่าง ๆ ที่ต้องการผลลัพธ์ทาง SEO สูง ๆ เช่นนี้ ซึ่งหลาย ๆ ผู้ให้บริการในส่วนนี้ใช้เทคนิคที่ไม่ค่อยจะดีต่าง ๆ นานา อาทิ การ spam ตัวอย่างเช่น เอา Link ไปแปะไว้ในเวปที่มี page ranking สูง ๆ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นมาก หรือ การซ่อนข้อมูล ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน Website (User มองไม่เห็นแต่ Search Engine นั้นมองเห็น) หรือ Trick อื่น ๆ ต่าง ๆ ที่เยอะแยะมากมายอธิบายไม่หมด เหล่านี้เรียกว่า Black Hat
ผมคิดว่าบางท่านที่กำลังอ่านนั้นก็คงใช้กันอยู่ด้วยความเคารพจะขอเอ่ยไว้ ก่อนว่าผมไม่ได้ต้องการโจมตี หรือ แฉใคร เพียงแต่อยากให้หันมาลองพิจารณาวิธีนี้ที่ผมจะเขียนให้ท่านอ่านกันบ้าง
การทำ SEO แบบ Black Hat นั้นเป็นอันตรายทั้งต่อ User และ Search Engine อธิบายคร่าว ๆ ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า การกระทำแบบนี้จะส่งผลให้ Search Engine นั้นต้องทำงานหนักมากขึ้น และ User อาจจะได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวถึงนั้นคือ White Hat
SEO ซึ่งเป็นการพัฒนา Website ของคุณง่าย ๆ ด้วยการเขียน code ให้สนับสนุนกับระบบของ Search Engine เช่น แยก Style ออกจาก html code ลดการใช้ JavaScript ที่ไม่จำเป็น และ ลดความหนาแน่นของ code (ใช้เท่าที่จำเป็น) เหล่านี้ จะทำให้ง่ายต่อการ Spider ของ Search Engine ง่ายต่อการ index และ ง่ายต่อการจัดอันดับ Page Rank
ถ้าลองศึกษา W3C Web Content Accessibility Guidelines และ ลองแก้ไข Website ของคุณตามที่ W3C บอกดู แล้วอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นใน Website ของคุณก็เป็นได้ (แหงสิ! แก้กันตะพึดเลยงานนี้) มันอาจจะดูยุ่งยากมากเรื่องไปนิด แต่มาลองอ่านคำอธิบายที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ดู (เผื่อจะเป็นประโยชน์ หรือ เปลี่ยนใจคนบางคนให้รับผิดชอบต่อสังคม หรือ คนอื่น ๆ บ้าง เอาน่ะ ทำ Website ดีดีคุณก็ได้บุญเหมือนกัน)
ง่ายต่อการเข้าถึง ไม่ว่าเป็น User ประเภทใด (รวมถึง Search Engine)
จุดประสงค์ของ Accessibility Guidelines นั้นก็คือ การที่จะทำให้ User ทุก ๆ คน ทุก ๆ ประเภทใช้งานและ เข้าใจในข้อมูลใน Website นั้นอย่างถูกต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น User ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ หรือ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลนั้น ๆ เลย หรือ แม้กระทั่งผู้ที่พิการทางสายตาก็สามารถทราบได้ว่า ภาพที่ใช้อยู่ในข้อมูลนั้น ๆ มีความหมายว่าอย่างไร Script หรือ Applet ที่ใช้อยู่นั้นใช้ทำอะไร และ Multimedia อื่น ๆ อีกหลายชนิด ก็สามารถที่จะเข้าใจหรือทราบได้ถึงความหมาย และ การนำมาใช้ของมัน มองไปทางด้าน Search Engine ก็เช่นเดียวกัน (จะเหมารวมเป็น User ด้วยเลยก็ได้นะ)
เดินทางไปกับสารพัน Check Point
ถึงตรงนี้เราจะมาดูกันว่า Check Point ต่าง ๆ ของ W3C Web Content Accessibility Guidelines ส่งผลกับ SEO อย่างไร แล้วทำไม Accessibility ที่สูง ๆ นั้นทำให้ได้ผลลัพธ์ทาง SEO ที่สูงขึ้นตามไปด้วย (อธิบายเฉพาะที่เกี่ยวข้องนะครับ)
1.1 Provide a text equivalent for every non-text element (e.g., via “alt”, “longdesc”, or in element content)…
Search Engine ไม่ได้เพียงไม่เข้าใจ รูปภาพ และ movie file แต่รวมไปถึงพวก ASCII art ต่าง ๆ ด้วย (การนำตัวอักษรมาเรียงรายกันเป็นรูปต่าง ๆ) alt, title, longdesc และอื่น ๆ เหล่านี้จะทำให้มันเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นที่ผมว่าไปนั้น
เช่นเดียวกัน Search Engine ไม่สามารถเข้าใจ Audio File ด้วยเพราะฉะนั้นเราก็ต้องทำเช่นเดียวกันกับวิธีข้างบนเพื่อทำให้ Search Engine สามารถเข้าใจ และ จัด rank ให้กับเจ้า Audio File ได้
1.2 Provide redundant text links for each active region of a server-side image map.
Text links มีความสำคัญต่อ Search Engine อย่างมาก เมื่อ anchor text ได้ถูกนำมาใช้เป็นตัวบ่งบอกว่าข้อมูลเหล่านั้น อ้างไปยังที่แห่งใด เช่นเดียวกัน พวก Search Engine Optimizer ทั้งหลายก็ให้ความสำคัญกับเจ้า anchor text นี้อย่างมากเพราะ Search Algorithm ของ Search Engine ยุคใหม่ ๆ นั้นจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ การเชื่อมต่อ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดลำดับข้อมูล จากเจ้าพวก anchor text นี้ (เรียกง่าย ๆ ว่าการ Spider) เช่น เดียวกับที่ผมกล่าวไว้ใน Check Point ก่อนหน้า ถ้าเราใช้ Image Map เราก็ต้องใส่คำบ่งความหมายลงไปให้กับมันด้วยเพื่อที่ Search Engine นั้นจะได้เข้าใจ และ สามารถเก็บข้อมูลจาก Image Map นั้น ๆ ได้
4.1 Clearly identify changes in the natural language of a document’s text and any text equivalents (e.g., captions).
เราจำเป็นจะต้องบ่งบอกภาษาที่เราใช้กับ Webpage ของเราว่าเป็นภาษาอะไรเพราะ Search Engine บางตัวนั้นจะจัดหมวดหมู่ของข้อมูลแยกตามภาษาได้ด้วยเพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่ควรละเลย รวมไปถึง Audio File ต่าง ๆ เราก็ต้องใช้ caption เพื่อให้ Search Engine เข้าใจและสามารถจัดหมวดหมู่ของข้อมูลได้ เช่นเดียวกันกับ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการทางหู มันจะสามารถเข้าใจ และ แปลความหมายของไฟล์ Audio นั้นเป็นภาษาที่ตรงกับภาษาของตัวไฟล์ได้ (ใน check point นี้ไม่เพียงให้ผลดีทาง SEO หรือ ทางธุรกิจของคุณอย่างเดียว แต่คุณจะได้บุญด้วยถ้าคนพิการเข้ามาใช้ เขาจะได้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้น ๆ ได้)
6.3 Ensure that pages are usable when scripts, applets, or other programmatic objects are turned off or not supported […]
User บางคนจะสามารถ disable การอนุญาติให้ใช้งานบาง Script หรือ Applet ได้จาก Preference ของ browser ที่พวกเขาใช้ เพราะฉะนั้นคุณต้องแน่ใจว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น Website ของคุณจะยังคงใช้งาน และ แสดงผลได้เป็นปรกติ โดยที่ข้อมูลที่ User จะได้นั้นครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนเดิมทุกประการ เช่นเดียวกัน Search Engine จะไม่อ่าน Script หรือ Applet ใดใดเพราะฉะนั้นคุณจะทำอย่างไรให้ Search Engine อ่านข้อมูลได้ครบถ้วนและนำไปจัดหมวดหมู่ข้อมูลได้ และ จัด ranking ได้
14.1 Use the clearest and simplest language appropriate for a site’s content.
การใช้คำและภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจนนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ User อ่านแล้วไม่สับสน หรือ งงว่าจะเอาไปใช้อย่างไร หรือ แปลความหมายเป็นความหมายใด แล้วยังทำให้ Search Engine จดจำคำ และ/หรือ ประโยคเหล่านั้นมาเป็น keywords ในการสืบค้น เพราะฉะนั้นเมื่อคุณใช้ภาษาในข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เมื่อมีการสืบค้นจาก User ใน Search Engine แล้ว Website ของคุณก็จะถูกจัดหมวดหมู่ได้ตรงตามข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอ และ ยังได้ ranking ที่ดีดีอีกด้วย
ผลประโยชน์มันไม่ได้จบแค่ Check Point ของ Priority-1 เท่านั้นนะครับ ยังมีอีกมากมายใน Priority-2 และ 3 ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อ SEO ให้กับ Website ของคุณทั้งนั้น เช่น Check Point ที่ 6.2 และ 6.5 จะกล่าวถึง Accessibility ของเหล่าข้อมูลที่เป็น Dynamic ที่จริงแล้วการจะทำให้ Website ที่มีข้อมูลที่เป็น Dynamic เช่น Website ที่เกี่ยวกับพวก E-Commerce หรือ Website ที่เป็น Database-Driven ให้สนับสนุนกับ SEO นั้นเป็นเรื่องยากอยู่ แต่ผมอยากให้ลองทำตามที่ W3C แนะนำดู อาจจะช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาการจัดหมวดหมู่ข้อมูล กับการทำ ranking ของ Search Engine กับ Website ของคุณได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
หากคุณยังคงสงสัยในสิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้งแล้วทั้งมวลอยู่ ถ้าพอจะมีเวลาว่างกันก็ให้ลองเข้าไปอ่าน Webmaster Guidelines ของ Google กันอีกทีเพื่อเป็นการยืนยันให้มั่นใจได้ว่า Google เองนั้นให้สิทธิพิเศษกับ Website ที่มี Accessibility สูง ๆ โดยกล่าวว่าจะทำให้ Google เองนั้นสามารถจัดหมวดหมู่ และ จัด ranking ได้ง่ายขึ้น มาดูกันเพื่อยืนยันบางส่วน
- Design and Content Guideline:
- • Make a site with a clear hierarchy and text links. Every page should be reachable from at least one static text link.
- • Offer a site map to your users with links that point to the important parts of your site. If the site map is larger than 100 or so links, you may want to break the site map into separate pages.
- • Create a useful, information-rich site, and write pages that clearly and accurately describe your content.
- • Think about the words users would type to find your pages, and make sure that your site actually includes those words within it.
- • Try to use text instead of images to display important names, content, or links. The Google crawler doesn’t recognize text contained in images.
- • Make sure that your title and alt tags are descriptive and accurate. […]
- Technical Guidelines:
Use a text browser such as Lynx to examine your site, because most search engine spiders see your site much as Lynx would. If fancy features such as JavaScript, cookies, session IDs, frames, DHTML, or Flash keep you from seeing all of your site in a text browser, then search engine spiders may have trouble crawling your site.
นั่นเป็นตัวอย่างบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่า Google นั้นได้สนับสนุน W3C Web Content Accessibility Guideline (แต่แปลกที่ทำไมไม่มีคำว่า accessibility
ใน Webmaster Guidelines ของ Google อาจเป็นด้วยเหตุผลบางประการที่ Google ไม่สามารถเขียนออกมาแบบนั้น แต่ Guideline ดังกล่าวก็สามารถแสดงให้เห็นว่า Google สนับสนุน Website ที่มี Accessibility สูง ๆ)
SEO เปรียบเสมือน หนึ่งคุณสมบัติของการจัดการ Accessibility ของ Website
Check Point ต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวข้างบนนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำให้เกิด Accessibility ที่มีประสิทธิภาพสูง ๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ทาง SEO สูง ๆ ด้วย ซึ่งหมายความรวมถึง Check Point อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
เชื่อว่า Web Designer และ Web Master ทุกคนก็หวังอยากจะให้ website ของตัวเองนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย สื่อสารได้เข้าใจ ส่งประโยชน์ให้กับ User ทุกคนที่นำไปใช้ ถ้าคุณลองฝึกหัดปฏิบัติทำตาม Guideline ต่าง ๆ ที่ W3C ได้แนะนำไว้มันก็เหมือนกับว่าคุณได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นหนึ่งใน White Hat Search Engine Optimizer แล้ว เท่านี้คุณก็จะได้ การเข้าถึง
อย่างคาดไม่ถึงจาก Google และ Search Engine ตัวอื่น ๆ แล้วก็สุดท้ายคือ ไม่ต้องทำตัวหลบ ๆ ซ่อน ๆ ว่า Website ของคุณจะโดนแบนเพราะการทำ Black Hat
สรุปกันง่าย ๆ คือ คุณทำ Website ให้คนตาบอด และ คนหูหนวก สามารถใช้การได้เข้าใจ และ สามารถนำข้อมูลของ Website คุณไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ย้ำอีกครั้งว่าทั้งหมด และ แม้ว่าไม่มี Style Sheet ข้อมูลก็ยังไม่ตกหล่น หรือ หายไปสามารถดูได้เข้าใจครบถ้วนได้แล้วนั้น คุณก็จะได้ผลลัพธ์ทาง SEO ที่สูง ๆ อย่างที่คุณคาดหวังไว้เช่นกัน
17 Responses to SEO ผลพลอยได้จากการทำ Website ให้เกิด Accessibility สูง ๆ