พื้นฐาน

Tag: พื้นฐาน

ถ้าเลือกได้ อย่าดอกจัน แผดดิ้งศูนย์ มาร์จิ้นศูนย์

ThaiCSS Direct วันนี้ขอเสนอ Tips เล็กๆ น้อยๆ เท่าหำแมงสาบ เอาไว้ให้นักเลงคีย์บอร์ด CSS ได้เก็บไว้ใช้งานเมื่อยามจำเป็น เรื่องพื้นๆ กาก กากส์ ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเป็นเพียงแค่เทคนิคการสังเกตกระบวนการ render css ของบราวเซอร์ที่เราสามารถช่วยบราวเซอร์ประหยัดพลังงานและเพิ่มความเร็วในการแสดงผลหน้าเว็บขึ้นไปอีก 0.0046 มิลลิเซคคั่น

หลักการอื่นๆ ในการเขียน tags ของ HTML5

บทความที่บอกเล่าเพิ่มเติมในบางเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่หลายคนอาจจะอยากรู้ คือเรื่อง Html5 Omitted Tags หรือ Tags ของ HTML5 ที่เราสามารถเขียนลงไปก็ได้ ไม่เขียนก็ได้ ปิดก็ได้ ไม่ปิดก็ได้ จะมีอะไรนั้นลองกวดสายตาดูครับ

เริ่มจริงจังกับการเรียนรู้พื้นฐาน CSS กันเถิด

หลังจากที่ผมเขียนเรื่อง “แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” เอาไว้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา (2010) ถึงตอนนี้ผมยังคิดว่าแม้กระทั่งผู้เขียนอย่างผมเองยังต้องตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเรานั้นไปตามเส้นทางแบบนั้นอย่างจริงจังหรือไม่

บทความที่ว่าก่อนหน้านั่นอาจจะดูคร่าวๆ ไปหน่อยสำหรับผู้ที่เริ่มจากพื้นฐานจริงๆ

วันนี้ผมมีเรื่องราวที่แยกย่อยลงไปเพื่อนำมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมครับ ซึ่งเรื่องราวนี้จะมุ่งเน้นไปยัง “หลักการการเรียนรู้ แยกแยะ จดจำ วีธีการทำงานของ CSS3 หรือ CSS4”

ตามที่เรารู้กันเป็นอย่างดี ในความแตกต่างของ CSS2 กับ CSS3 แต่เอ๊ะ ใครยังไม่รู้ความแตกต่างบางข้อที่ทำให้ภาษานี้แตกต่างกันอย่างมากขอรับ ยกมือหน่อย “ผมรู้ว่าคุณยกมือในใจ”

แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเริ่มต้นอย่างถูกวิธีและมีแนวทาง ถือเป็นก้าวสำคัญที่สามารถส่งผลให้การเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวใดๆ ก็ตามเป็นไปอย่างมีแบบแผนและพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปเสียเวลาทดลองหรือซุ่มเสี่ยงในสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าถูก หรือผิด เพียงแค่เอาเวลาที่เหลือนั้นไปพัฒนา ต่อยอดสิ่งที่มีอยู่นั้นให้ดียิ่งขึ้นไป

แต่ถ้าหากว่า สิ่งที่มันมีอยู่นั้น มันอยู่ตรงไหนกัน “คำถามนี้ ถือเป็นปัญหาหลัก” ในแวดวงการทำงานในส่วนของ CSS และ HTML ของเมืองไทยเรามาหลายปี หรือจะบอกได้ว่าตั้งแต่เริ่มมีคำว่า Tableless หรือ CSS ไหลเข้ามาในหัวของนักพัฒนาเว็บชาวไทยโน่นเลยก็ว่าได้

เพราะมันเพิ่งเริ่ม เพิ่งเกิด จึงไม่มี หรือมีน้อย ส่วนที่มีน้อยนั้นก็ใช่ว่าจะเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ หรือที่มีอยู่ดันเปี่ยมไปด้วยความด้อยคุณภาพ จึงทำให้ส่วนงานที่กล่าวมานั้น ยังไม่มีแนวทางหรือต้นแบบในการเรียนรู้ ปฏิบัติอย่างชัดเจน

XHTML attribute และ การคอมเม้นท์ใน css

การเขียน CSS สำหรับ XHTML attribute ใน css ไฟล์นั้นเหมาะกับการใช้ในกรณีที่เราต้องการ ควบคุมการแสดงผลร่วมกันในหลายๆ หน้าของเว็บเช่น การสั่ง body หรือ การสั่ง IMG การเขียน css แบบ External ที่สำคัญเราควรกำหนดค่า body, img, Pseudo-classes, table,td และอื่นๆ ที่เราต้องการไว้ก่อน

เช่น ถ้าเราเขียน

body { 
background-color: #000000;
} 
img {
border: 0;
}

เมื่อเรานำ ไฟล์ css ไปใช้กับหน้าเว็บใดๆ แล้ว จะได้ค่า พื้นหลังของทุกหน้าเป็นสี #000000 และภาพทุกภาพที่มีอยู่ในแต่ละหน้า จะไม่มี เส้นขอบ และเมื่อเราไปใช้ tag <img src="" alt=""> เราไม่ต้องกำหนด border="0" ในแทกอีกที เพราะ css จัดการให้เรียบร้อยแล้ว และวิธีการกำหนด IMG ให้ border: 0; ใน css ไฟล์ลักษณะนี้ นอกจากจะช่วยไม่ให้ต้องเขียน border="0" ใน html แล้ว เวลาที่เราทำลิงค์จากภาพ ใน IE ก็จะไม่ปรากฎ ขอบสีน้ำเงินขึ้นด้วยครับ

เปลี่ยนใจมาใช้ div แทน table ตอนที่ 2 (เมา DIVs)

เมา div(s) หลายคนอาจจะเคยเป็น เพราะผมก็เคยเมามาก่อน การเมา div มันไม่เหมือนการเมาเบียร์เท่าไหร่ เพราะเมาแล้วไร้ประโยชน์ แต่ได้ประสบการณ์ แต่ว่าประสบการณ์อย่างนี้ ผมไม่อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ลุง ป้า น้า อา มาเมากะผมด้วย เพราะน่าจะแนะนำกันได้ไม่มากก็น้อย

การเปลี่ยนใจจาก table มา div ก็เหมือนจะรู้จักแต่ div เท่านั้นที่ผมจำได้ในตอนแรกๆ ที่ผมเขียน css+xhtml ผม div กระจายวายป่วงมากๆ เช่น แค่การทำตัวหนังสือใหญ่ๆ เป็น header ผมก็จะใช้

Back to Top