browser

Tag: browser

Google Chrome สงครามบราวเซอร์ยกใหม่

ผมไม่ขอพูดถึงในเรื่องของประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่น หรือรูปแบบการทำงานอะไรมากมาย แต่อยากจะสาธยายถึงความน่าจะเป็นเมื่อผลิตภัณฑ์นาม Google Chrome ออกมาสู่ตลาดเพื่อฟาดฟันสงครามกับเจ้าอื่นๆ

ใครที่ยังงงว่า Google Chrome คืออะไร ก็ตรงๆ ครับ มันคือ Web Browser จาก Google ที่หลายคนคงคิดว่า มันจะมาเป็นตัวฝัง IE8 แบบตายตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด

สำหรับคนที่ได้ลอง IE8 Beta 2 แล้วนั้น คงเห็นไปแล้วว่าของเขาดีในระดับหนึ่ง คือดีกว่าเดิมมาก สำหรับฝั่ง Web Accessibility คงยิ้มออก มีความสุขเล็กๆ เพราะอย่างน้อยในเรื่องของ CSS และ XHTML ก็ได้มากกว่าที่เคยเป็นมา ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมก็ยังไม่ทราบเช่นกัน

IE8 กับ มาตรฐาน

ก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ ผมเขียนเรื่อง "IE8 ข่าวร้าย หรือข่าวดี" วันที่ 15 ธันวาคม หลังจากนั้นไม่กี่วัน วันที่ 19 ธันวาคม ทีมพัฒนา IE นำ IE ตัวใหม่เข้าทดสอบความเป็นมาตรฐานกับ Acid 2 ผลปรากฎว่า IE8 รันผ่านมาตรฐานการเป็นเว็บบราวเซอร์ ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ถือเป็นข่าวดีรับปีใหม่กันเลยทีเดียว

สำหรับคนที่ยังไม่ได้เขียนเว็บเข้าสู่โหมดมาตรฐานอาจจะยังเฉยกับข่าวนี้ เพราะอาจจะคิดไม่พบว่า เมื่อ IE8 เข้าสู่โหมดมาตรฐานแล้ว จะส่งผลกระทบกับชีวิตการทำงานอย่างไรบ้าง เรามาดูแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงกันตามประสาสักเล็กน้อยครับ ถ้าอยากจะรู้ว่า IE8 จะแสดงผลหน้าเว็บยังไง สามารถเปรียบเทียบได้กับการใช้ Opera 9.5 ในการเข้าเว็บ ทำไมถึงไม่แนะนำให้ใช้ Firefox ก็เพราะ Firefox 3 ยังไม่ฉลุยกับ Acid 2 นั่นเอง ในที่นี้ผมขอเพิ่มเติมเข้าไปในส่วนการ Render หน้าเว็บ ที่ใช้ CSS ของ Opera เข้าไปด้วย Opera รู้จัก Selector ของ CSS3 ที่อยู่ในสถานะ Candidate Recommendationและ Last Call อย่างหมดเปลือก ทั้งๆ ที่ Firefox 3 ยัง ทดสอบไม่ผ่านอีกบาน (last-child: ยังผ่านไม่หมดเลย) นั่นเลาๆ ได้ว่า IE8 คงฉลาดพอกัน (ผมอาจจะฝันไปเอง)

ทำอย่างไรจะให้ผู้ใช้ทั่วโลกหันมาใช้ IE8 กันถ้วนหน้า

IE8 ข่าวร้าย หรือข่าวดี

ไม่น่าเชื่อว่าผมจะใจจดใจจ่อกับการมาถึงของ IE8 ได้ขนาดนี้ เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2549 ผมเขียนบทความเรื่อง “มันมาแล้ว! บราวเซอร์ห่วย? หรือเปล่า” เพื่อก้มมอง IE7 เล็กๆ แต่ไม่คิดว่า แค่เพียงหนึ่งปีให้หลัง IE8 จะตามมาเร็ววันขนาดนี้

Multiple Style Sheet จบปัญหาขั้นต้น กับ Netscape4

ปกติส่วนใหญ่การแสดงผลนั้นปกติหมดทุกอย่างเป็นไปตามที่อยากให้เป็นไปนะครับทีนี้ลองเอาไปเปิดใน Netscape 4 ดูสิคุณจะเห็นความหายนะ หลาย ๆ อย่างเลยล่ะ ที่เป็นประเด็นหลัก ๆ ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ

– Fonts

Font Properties ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การเพิ่มขนาด font ให้กับ heading ไม่สามารถกำหนด font-weight โดยใช้ bold กับ strong ได้ การเลือกใช้สีที่ไม่ถูกต้องตามอารมณ์ของมัน จะถูกแสดงผลออกมาเป็น สีเขียวสะท้อนแสง แทนที่จะเป็นสีจริง ๆ ที่เรากำหนด

– Margins และ Borders

Block elements ในส่วน top and bottom margins แสดงผลไม่ถูกต้อง ความสูงระหว่างบรรทัดทำให้ เหลื่อมล้ำ และ ซ่อนส่วนของภาพ ต้องมีการกำหนด border ที่ถูกต้อง การใช้ border กับ inline elements จะทำให้การแสดงผลใน browser พัง

– Background

สีพื้นใช้กับ Element and borderได้ไม่เต็ม ตำแหน่ง backgrounds ผิดเพี้ยนไป ชุดสีสำหรับ backgrounds ที่อยู่ใน anchor tags มองไม่เห็นภาพ background-image และ สีหายไปจาก elements ที่กำหนดไว้

– List

แสดงผลเฉพาะ bullet แต่ไม่แสดง text ออกมาให้เห็น list-style-type แสดงผลผิดไป การจัดวาง margin และ padding ไม่สามารถใช้ได้ในส่วนนี้

– Table

ตบตา Netscape 4 ด้วย ID Element

คราวที่แล้วพูดถึงการใช้ การเขียน Comment ของ CSS หลอกเจ้าลุง Browser ตัวนี้ไปแล้ว คราวนี้มาว่าต่อด้วยวิธีป่วน ลุง Browser ตัวนี้ต่อ เป็นวิธีที่เรียกว่า “วิธีง่าย ๆ” ก็ได้มั้ง ลุง Browser ตัวนี้เนี่ยแกจะไม่ทำงานกับ ID selector ใดใดที่มีการเขียนให้เรียกใช้แบบ จำเพาะเจาะจง งงมั้ยครับ ดูตัวอย่างข้างล่างนี้ละกัน

บทเริ่มแห่งสงคราม (Netscape 4)

Netscape 4 Browser ตัวนี้หลาย ๆ คนใน ThaiCSS คงเลิกใช้ไปแล้วมั้งครับ แต่ผลการสำรวจทั่วโลกนั้นยังมีคนที่ยังใช้อยู่ ถึงแม้จะเป็นเพียงไม่ถึง 10% แต่ผู้ใช้เหล่านี้อยู่ในธุรกิจใหญ่ ๆ ที่เราไม่อาจมองข้ามไปได้เลยนะครับ

เช่น โรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ, ห้องสมุดใหญ่ ๆ ตามมหาวิทยาลัยดัง ๆ ต่าง ๆ (รวมถึงมหาวิทยาลัยของผมด้วย) และ โรงพยาบาลดัง ๆ ในหลายประเทศ

ถึงตอนนี้คุณคงเกิดคำถามแล้วสิว่า “ทำไมวะ ทำไมมันยังใช้กันอยู่”

แหงสิครับถึงเค้าเหล่านั้นจะเป็น นักธุรกิจ หรือ คุณหมอ หรือว่าบรรณารักษ์คนเก่งของนักศึกษา แต่เค้าก็ไม่มีโอกาสที่จะเลือก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยไว้ใช้งาน หรือ ไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากเท่าเรา (จริงรึเปล่า Designer บางคนผมเห็นยังลงโปรแกรมเองไม่เป็นเลย) เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปว่าใครหรอกนะครับ

“ลูกค้า คือ พระเจ้า” ท่องเข้าไว้

ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกนะครับ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็หวังว่าบทความของผม มันคงจะช่วยให้พวกคุณทำงานกับมันได้เป็นอย่างดี วิเคราะห์ และ แก้ไขปัญหา หาทางออกได้ถูกต้อง

Back to Top