css

Tag: css

CSS3 เพื่ออะไร?

CSS3 เริ่มเขียนเริ่มใช้กันได้แล้ว หาซื้อได้ตามร้านโชวห่วยทั่วไป แต่ อะไรกันแค่เพียง CSS1 กับ CSS2-2.1 ยังเขียนไม่หวาดไม่ไหว จะจู่โจมสู่ไตรภาคกันแล้วหรือ ค่อยๆ เขียนค่อยๆ เพิ่มกันไป จะให้ผมมาเขียนเชียร์แบบบ้าพลัง

กลับมาหา CSS

ถือได้ว่าเราห่างหายจากการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับ CSS อย่างเดียวโดยตรงไปนาน เพราะทั้งผม (พร อันทะ) และ รดิส (radiz) ต่างพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของทุกๆ ท่านไปที่เรื่อง Semantic web, Web Standards และเรื่อง XHTML นานพอสมควร ไม่ใช่ว่าพวกเราจะเลิกสนับสนุนหรือแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับ CSS กันแล้ว แต่เพียงแค่หันไปบอกเล่าเรื่องที่มันสำคัญมากยิ่งกว่า CSS แค่ชั่วคราวแค่นั้นเองครับ เพียงเพราะแค่อยากให้เข้าใจเรื่องราวของการเขียนเว็บตรงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระนั้นก็ยังหวั่นๆ ว่ามันจะไปทางเดียวกันได้หรือไม่ ต้องรอดู

มาถึงตอนนี้ ผมคงเริ่มที่จะกลับเข้ามาหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ CSS มากยิ่งขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของเวลา แต่คงเป็นอะไรที่ซับซ้อนมากกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะต้องเขียน CSS ให้รองรับในฉบับของ Semantic Web

สงครามบราวเซอร์ จุดเริ่มต้นของจุดจบ

HTML, XML, XHTML และ CSS คืออะไร ต่างกันอย่างไร และใช้อย่างไร

การแสดงผลที่มองเห็นได้นั้น มีความสำคัญคือ ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจโครงสร้างของเอกสารจากการมองเห็นได้ง่าย ส่วนการมาร์กอัพนั้น ก็ต้องทำให้ผู้อ่านที่มองไม่เห็นเข้าใจโครงสร้าง ของเอกสารได้ง่ายเช่นเดียวกัน ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องทำไปพร้อมกัน

HTML (Hyper Text Markup Language)

ภาษานี้คงคุ้นกันดีอยู่ในหมู่นักเขียนเว็บทั้งหลาย HTML ภาษานี้เป็นภาษาที่ Browser ส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าคืออะไรและสามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง Browser ส่วนมากนั้นจะรันบนคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำมาก จึงไม่ค่อยเป็นปัญหามากนักในการประมวลผลแม้ว่าบางครั้งผู้เขียนโค้ดอาจเขียนโค้ดผิดพลาดก็ตาม แต่ Browser ก็สามารถเดาได้และแสดงผลได้อย่างถูกต้องเป็นส่วนมาก แต่ปัญหาก็คือ หากต้องการใส่แท็กใหม่ ๆ ลงไป เอกสาร HTML จะไม่สามารถประมวลผลได้ มันจะประมวลผลเฉพาะแท็กที่มันรู้จักเท่านั้น นั่นคือตัว HTML มีความจำกัด นอกจากนี้แล้วเอกสาร HTML ยังถูกเอาไปใช้อย่างผิดความหมายและผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เอกสารมีความยุ่งยาก ทำความเข้าใจยาก ต้องใช้เวลามากในการเขียนหรือออกแบบเนื่องจากมีการปนกันของเนื้อหาและการตกแต่งเอกสาร เอกสาร HTML ส่วนมากจึงเกิดสภาพที่เรียกว่า malformed ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า well-formed ซึ่งหมายถึง เอกสารมีความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาดและไม่ฝืนข้อกำหนดของตัว DTD

XHTML attribute และ การคอมเม้นท์ใน css

การเขียน CSS สำหรับ XHTML attribute ใน css ไฟล์นั้นเหมาะกับการใช้ในกรณีที่เราต้องการ ควบคุมการแสดงผลร่วมกันในหลายๆ หน้าของเว็บเช่น การสั่ง body หรือ การสั่ง IMG การเขียน css แบบ External ที่สำคัญเราควรกำหนดค่า body, img, Pseudo-classes, table,td และอื่นๆ ที่เราต้องการไว้ก่อน

เช่น ถ้าเราเขียน

body { 
background-color: #000000;
} 
img {
border: 0;
}

เมื่อเรานำ ไฟล์ css ไปใช้กับหน้าเว็บใดๆ แล้ว จะได้ค่า พื้นหลังของทุกหน้าเป็นสี #000000 และภาพทุกภาพที่มีอยู่ในแต่ละหน้า จะไม่มี เส้นขอบ และเมื่อเราไปใช้ tag <img src="" alt=""> เราไม่ต้องกำหนด border="0" ในแทกอีกที เพราะ css จัดการให้เรียบร้อยแล้ว และวิธีการกำหนด IMG ให้ border: 0; ใน css ไฟล์ลักษณะนี้ นอกจากจะช่วยไม่ให้ต้องเขียน border="0" ใน html แล้ว เวลาที่เราทำลิงค์จากภาพ ใน IE ก็จะไม่ปรากฎ ขอบสีน้ำเงินขึ้นด้วยครับ

เริ่มต้นกับ css

หลายคนยังสับสนในเรื่องของ css กับ html พอสมควร ดังที่ผมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันทาง Windows Live Messenger [MSN] ซึ่งทำให้ผมต้องปรับโครงสร้างเว็บใหม่ เพื่อ ทำความเข้าใจกับ CSS ให้มากยิ่งขึ้นครับ และสำหรับผู้เริ่มต้นเลย ไม่รู้จะเอายังไง ก็เชิญแวะมาเลียบๆ เคียงๆ กันทางนี้ก่อนนะครับ

ก่อนอื่นมาแยกกันก่อนว่า แม้เราจะบอกว่า เขียนเว็บ ออกแบบเว็บด้วย css อย่างไรก็ตาม แต่แท้จริงแล้ว หาใช่ css อย่างเดียวไม่ เพราะ css เป็นเพียงแค่ตัวสร้างสีสัน ความสวยงาม จัดการเลย์เอ้าท์ ซึ่งเราต้องเขียนควบคู่ไปกับ [x]html

[X]HTML เป็นส่วนสำคัญของการวางโครงสร้างของข้อมูล ส่วน CSS นั้น เป็นส่วนของการจัดการรูปแบบของโครงสร้างของข้อมูลหรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นส่วนของการออกแบบเลย์เอ้าท์หน้าเว็บนั่นเอง

อย่างไรคือการวางโครงสร้างข้อมูล อย่างไรคือการจัดวางโครงสร้างข้อมูล

Back to Top