css3

Tag: css3

แนวทางการเรียนรู้ CSS3 และ HTML5 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเริ่มต้นอย่างถูกวิธีและมีแนวทาง ถือเป็นก้าวสำคัญที่สามารถส่งผลให้การเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวใดๆ ก็ตามเป็นไปอย่างมีแบบแผนและพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องไปเสียเวลาทดลองหรือซุ่มเสี่ยงในสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าถูก หรือผิด เพียงแค่เอาเวลาที่เหลือนั้นไปพัฒนา ต่อยอดสิ่งที่มีอยู่นั้นให้ดียิ่งขึ้นไป

แต่ถ้าหากว่า สิ่งที่มันมีอยู่นั้น มันอยู่ตรงไหนกัน “คำถามนี้ ถือเป็นปัญหาหลัก” ในแวดวงการทำงานในส่วนของ CSS และ HTML ของเมืองไทยเรามาหลายปี หรือจะบอกได้ว่าตั้งแต่เริ่มมีคำว่า Tableless หรือ CSS ไหลเข้ามาในหัวของนักพัฒนาเว็บชาวไทยโน่นเลยก็ว่าได้

เพราะมันเพิ่งเริ่ม เพิ่งเกิด จึงไม่มี หรือมีน้อย ส่วนที่มีน้อยนั้นก็ใช่ว่าจะเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ หรือที่มีอยู่ดันเปี่ยมไปด้วยความด้อยคุณภาพ จึงทำให้ส่วนงานที่กล่าวมานั้น ยังไม่มีแนวทางหรือต้นแบบในการเรียนรู้ ปฏิบัติอย่างชัดเจน

HTML5 กับ CSS3 เมื่อเอามาทำ Photo Gallery

ตัวอย่างบทความ HTML5

เป็นอะไรกันไม่รู้ครับ พ่อแม่พี่น้อง ช่วงนี้ ทำไม มองไปทางไหนมีแต่คน บ้า HTML5 และ CSS3 แต่บางที
คงไม่ต้องหาคำตอบให้กับคำถามปัญญาอ่อนของผมก็ได้ เพียงแค่ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ไปเรื่อย เรื่อยก็คงพอเพียงแล้ว

อันเรื่องราวของ HTML5 และ CSS3 นั้น ThaiCSS เองก็ใช้มานานนม เพราะมันมีมานานแล้ว จึงไม่ค่อยได้ตื่นเต้นไปเท่าไหร่

เมื่อก่อนตอนใช้ ก็มีคนหาว่าบ้า ตอนนี้เป็นไงหละ บ้ากว่ากุอีก

การอ่าน และ การเรียกชื่อ CSS3 Selectors

ในตอนแรก ผมตั้งใจเขียนบทความในเรื่องการเขียน Floating Layout โดยใช้ Simple Selectors ผสมกับ Combinators ผลปรากฎว่า พอผมกลับมานั่งอ่านเองแล้ว ยังเห็นความยุ่งยากของการทำความเข้าใจกับการเรียกชื่อ Selectors แบบต่างๆ อยู่ อาจกล่าวได้ว่า ถ้าคนที่ไม่แตกฉานเรื่อง CSS Selectors แล้วมาอ่าน คง มึนงง กลับบ้านไม่ถูกกันเลยทีเดียว

ก่อนหน้านี้ผมเขียนบทความเรื่อง "อาชีพ เขียน CSS" เอาไว้ ตั้งปณิธาน เอาไว้ว่า จะพยายามอธิบายสิ่งที่มันยากๆ ให้เข้าใจง่าย และจะพยายามหาเรื่องใหม่ๆ มาให้คนที่สนใจได้รับรู้และศึกษา ตาม Title ของ ThaiCSS ที่เปลี่ยนไป เป็น CSS3 จึงต้องหันกลับมา เริ่มเขียนเรื่องใหม่ ค่อยๆ แนะนำกันให้เข้าใจกันก่อน

บางคนที่ทำมาหากินกับการเขียน CSS HTML แทบเรียกชื่อ Selectors ของ CSS ไม่ถูกด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าผมไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในเรื่อง Selectors ของ CSS แล้ว นั่นก็หมายความว่า "ผม บกพร่องในหน้าที่ ของการถ่ายทอดความรู้เรื่อง CSS"

CSS Positioning Layout กับอนาคตที่ยังไม่แน่นอน

ก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนเรื่อง ยุคสมัยของ CSS Layout เอาไว้ แล้วผมก็ค้างเรื่องสุดท้าย ซึ่งจะเป็นยุคสมัยของ CSS Layout ในอนาคต นั่นก็คือ การใช้ Position เพื่อทำ Layout หน้าเว็บ

มันยังไงกันแน่ กับเรื่องการใช้ Position สำหรับหน้าเว็บ อาจจะงง งง กัน แน่หละครับ อะไรที่เรายังไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เห็น ไม่เข้าใจมันย่อม งง เป็นธรรมดา ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ทำความเข้าใจ เดี๋ยวมันก็หายงง ไปเอง

ไม่ใช่แค่ Position เท่านั้น ที่จะมาเป็น พระเอก สำหรับการเขียน Layout ของเว็บในอนาคต Display คืออีกหนึ่ง Property ที่มาร่วมด้วยช่วยกัน ทำตัวเป็นพระรองให้เราได้ใช้งาน

หลักการพื้นฐานง่ายๆ ก่อนที่จะเข้าสู่วังวนแห่งความมึนงง คือ "ให้เลิกคิดไปตั้งแต่ตอนนี้ว่า CSS เอาไว้จัดหน้าเว็บ อย่างเดียว" CSS มีไว้เพื่อจัดการหน้าเอกสารให้กับทุก
Devices ที่ถูกวางโครงสร้างการนำเสนอด้วยภาษา HTML ในโลกของ http เพราะเมื่อขึ้นด้วย Hypertext Transfer แล้วหละก็ มันก็คือ HTML วันยังค่ำ

"CSS Advanced Layout Module" (ชื่อเก่า) ซึ่งตอนนี้ อยู่ในขั้น WD คือ Working Draft และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "CSS Template Layout Module" เมื่อ เมษายน 2009

HTML5 กับ CSS3 อนาคตที่จะมาบรรจบกัน ตอนที่ 1

คำเตือน บทความนี้เป็นบทความเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในโลกปัจจุบัน ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่มองอนาคตระยะ 15 เมตร

คำเตือนที่สอง เนื้อหานี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และ ตัวอย่างทั้งหมด ไม่สามารถใช้ User Agent ที่เป็น Browsers อย่าง IE ทั้ง 6-7-8 เรียกดูได้ เพราะฉะนั้น กรุณาใช้ Firefox, Opera, Safari, หรือ Chrome เข้าชม

คำเตือนที่สาม ผมเกรียน…

ผมขอพูดไปเรื่อยๆ ทีละขั้น จนไปถึงขั้นสุดท้าย คือการทำตัวอย่างหน้าเว็บด้วย HTML5 โดยใช้ CSS3 เข้ามาจัดการหน้าเว็บ

-1-

คำถามชุดที่หนึ่ง ราคา สี่ร้อยเก้าสิบเก้าบาท

ถามว่า HTML5 จะใช้ได้ในเร็ววันนี้หรือไม่

คำตอบคือ ทั้งใช่ และไม่ใช่ อย่างไรบ้างหละ

CSS3 ปฐมบท

ผมตั้งใจมานาน ว่าผมจะเลิกเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเขียน CSS ก็เพราะว่า ความน่าสนใจที่มันมีอยู่มันหดหายไปหมดแล้ว ไม่ใช่ว่าเขียนได้ทุกอย่างแบบขั้นเทพ ผมก็ยังงูๆ ปลาๆ อยู่วันยังค่ำนั่นแหละ CSS มันก็คือ CSS มันไม่มีทางกลายไปเป็นปลาดุกได้อย่างแน่นอน แต่ ไม่ใช่สำหรับ CSS3 ผมตั้งใจไว้ว่า ถ้าหากผมยังจะอยากเขียน ผมจะเขียนเกี่ยวกับการใช้ CSS3 และอย่างอื่นที่มันอยู่ในตระกูลภาษาตกแต่งเหมือนกัน

หลายคนคงจะงง เพราะมันยังไม่ใช้เลย ใช่ครับ มันยังไม่มีความจำเป็นในตอนนี้ แต่ผมจำเป็นต้องเขียน (ถ้าคนอื่นยังอยากจะรู้นะครับ) เพราะอย่างน้อย อีกห้าปี CSS3 ถึงจะเดินทางมาถึง และถึงตอนนั้นผมคงไม่มีอารมณ์มานั่งเขียน CSS อีกแล้ว คงไปทำมาหากินอย่างอื่นได้แล้ว ตอนนี้ยังมีแรงเขียนก็เลยจะเขียนเอาไว้ก่อน เพราะว่าจริงๆ แล้วรูปแบบการนำไปใช้มันไม่ได้แตกต่างกันมา แต่สิ่งที่แตกต่างกันในเวอร์ชั่นก็คือรูปแบบการสั่งงานของ Selectors ที่จะอำนวยความสะดวกในขั้นสูงมากยิ่งขึ้นและเข้ากันกับภาษาอื่นๆ มากยิ่งขึ้น

สถานะ Last Call ของ CSS3 ในหมวดของ Selector แน่นิ่งมานาน แต่ผมก็ไม่รู้ว่าจะรีบไปใย โดยเฉพาะกับพี่ไทยทั้งหลาย เพราะ เอาแค่ CSS2 นี่ก็ยังเมากันอยู่ หรือดีมาหน่อยก็ CSS2.1 ก็ยังใช้กันไม่หวาดไม่ไหว สำหรับบางคนแล้ว มีแค่ Class Selector ก็คงถือว่ามากพอ แต่สำหรับคนบางกลุ่มแล้วมันคงไม่พอ

Back to Top