ie8

Tag: ie8

Microsoft Expands Support for Web Standards in IE8

ท้ายที่สุดแล้ว เราก็ได้ข่าวดี พร้อมๆ กันทั่วโลก Web Designers คงเป็นกลุ่มที่ยิ้มออกได้มากที่สุดกับข่าวนี้ Microsoft ประกาศตั้งค่าเรนเดอร์หน้าเว็บด้วยโหมด Web Standards เป็นค่า Default และบอกด้วยว่า IE8 ได้แยกระบบการ Render ออกเป็นสามแบบแล้ว หลังจากที่ชีวิตอยู่ในแสงรำไรมานาน สุดท้ายแล้วก็เจอทางสว่างเสียที

คำถามแรก ของคนส่วนใหญ่คือ จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเว็บผม เว็บฉัน ไม่ได้มาตรฐาน แต่เอาไปเปิดกับ IE8 ผมคงไม่พูดอธิบายอีกรอบ เพราะบ่นมาเยอะมากแล้ว เอาง่ายๆ วันนี้ลองเอา Opera 9.5 หรือ Firefox 3.0 เปิดเว็บดู คำตอบจะเจอได้ตามร้านขายยาทั่วไป

สิ่งที่ถูกต้อง มันก็คือสิ่งที่ถูกต้องอยู่วันยังค่ำ ผมก็ยังเชื่ออย่างนั้น จากนี้ไป มันกำลังจะแสดงออกมา ว่าเราจะสามารถสู้กับสิ่งที่ถูกต้องนั้นได้ยังไง

ข่าวประกาศจากไมโครซอฟท์

Microsoft Expands Support for Web Standards

IE8 กับ มาตรฐาน

ก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ ผมเขียนเรื่อง "IE8 ข่าวร้าย หรือข่าวดี" วันที่ 15 ธันวาคม หลังจากนั้นไม่กี่วัน วันที่ 19 ธันวาคม ทีมพัฒนา IE นำ IE ตัวใหม่เข้าทดสอบความเป็นมาตรฐานกับ Acid 2 ผลปรากฎว่า IE8 รันผ่านมาตรฐานการเป็นเว็บบราวเซอร์ ตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ ถือเป็นข่าวดีรับปีใหม่กันเลยทีเดียว

สำหรับคนที่ยังไม่ได้เขียนเว็บเข้าสู่โหมดมาตรฐานอาจจะยังเฉยกับข่าวนี้ เพราะอาจจะคิดไม่พบว่า เมื่อ IE8 เข้าสู่โหมดมาตรฐานแล้ว จะส่งผลกระทบกับชีวิตการทำงานอย่างไรบ้าง เรามาดูแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงกันตามประสาสักเล็กน้อยครับ ถ้าอยากจะรู้ว่า IE8 จะแสดงผลหน้าเว็บยังไง สามารถเปรียบเทียบได้กับการใช้ Opera 9.5 ในการเข้าเว็บ ทำไมถึงไม่แนะนำให้ใช้ Firefox ก็เพราะ Firefox 3 ยังไม่ฉลุยกับ Acid 2 นั่นเอง ในที่นี้ผมขอเพิ่มเติมเข้าไปในส่วนการ Render หน้าเว็บ ที่ใช้ CSS ของ Opera เข้าไปด้วย Opera รู้จัก Selector ของ CSS3 ที่อยู่ในสถานะ Candidate Recommendationและ Last Call อย่างหมดเปลือก ทั้งๆ ที่ Firefox 3 ยัง ทดสอบไม่ผ่านอีกบาน (last-child: ยังผ่านไม่หมดเลย) นั่นเลาๆ ได้ว่า IE8 คงฉลาดพอกัน (ผมอาจจะฝันไปเอง)

ทำอย่างไรจะให้ผู้ใช้ทั่วโลกหันมาใช้ IE8 กันถ้วนหน้า

IE8 ข่าวร้าย หรือข่าวดี

ไม่น่าเชื่อว่าผมจะใจจดใจจ่อกับการมาถึงของ IE8 ได้ขนาดนี้ เมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2549 ผมเขียนบทความเรื่อง “มันมาแล้ว! บราวเซอร์ห่วย? หรือเปล่า” เพื่อก้มมอง IE7 เล็กๆ แต่ไม่คิดว่า แค่เพียงหนึ่งปีให้หลัง IE8 จะตามมาเร็ววันขนาดนี้

Conditional Comment ใน Internet Explorer

ตามที่พรอยากให้เขียนนะครับ วันนี้ผมจะพูดถึงเจ้า Internet Explorer จากค่าย Microsucks ที่อาจจะป่วนศีรษะเราหลาย ๆ คนให้กลัดกลุ้มใจเวลาทำงาน

วันนี้ผมจะพูดเกี่ยวกับการเขียน Conditional Comment ใน Internet Explorer หรือที่เพื่อน ๆ เรียกกันว่า Rules ให้ Internet Explorer นั่นเอง

Conditional Comment นั้นจะทำงานได้ในเฉพาะ Internet Explorer เท่านั้น เป็นส่วนที่ออกแบบมาเพื่อการนี้เลยเพื่อ เป็นการสั่งให้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้กับ Internet Explorer และ Conditional Comment นี้จะทำงานได้กับ Internet Explorer ตั้งแต่ Version 5 ขึ้นไปและอาจจะเป็นไปได้ว่าการทำงานของมันใน IE5, IE5.5 และ IE6 จะแตกต่างกันด้วย

Conditional Comment จะเขียนในลักษณะนี้ครับ

<!--[if IE 6]>

คุณสมบัติพิเศษสำหรับ Internet Explorer เขียนที่นี่

<![endif]-->

โครงสร้างหลัก ๆ ของมันก็คือ เหมือนการเขียน comment ธรรมดาใน (X)HTML TAGs ซึ่งนั่นก็คือ การเขียนแบบนี้ “<!– –>” นั่นเอง ซึ่ง browser ตัวอื่น ๆ นั้นจะมองเห็นมันเป็น comment ธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง และ จะอ่านข้ามไป

Internet Explorer นั้นถูกกำหนดมาให้มองเห็นและทำงานตามคำสั่งก็ต่อเมื่อได้เห็น การเขียน comment นี้ “<!– [if IE] –>” เท่านั้น เมื่อ Internet Explorer เจอมันจะมองเป็นคำสั่ง ๆ หนึ่งเหมือนเขียนกับที่มันอ่าน (X)HTML TAGs หรือ Script โปรแกรมตัวอื่น ๆ

มันมาแล้ว! บราวเซอร์ห่วย? หรือเปล่า

หลังจากที่ได้ข่าวว่า ไมโครซอฟท์ จะปล่อยเจ้าบราวเซอร์เจ้า IE ตัวใหม่ออกมา ก็นั่งตั้งตาคอยดูว่ามันจะหน้าตาเป็นเยี่ยงไร ใช้งานมันส์ ขนาดไหน ความสามารถจะตามทันผู้ที่เดินล่วงหน้าไปก่อนอย่าง จิ้งจอกไฟ หรือขาใหญ่ โอเปร่าทันหรือเปล่า จนแล้วจนรอด เท่าที่ผมเห็นและลองใช้ ถึงแม้ความสามารถจะเพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิมมากมาย แต่ก็ยังด้อยกว่า บราวเซอร์จาก โมซิลล่า หรือโอเปร่าอยู่ดี

Back to Top