web standards

Tag: web standards

สร้าง Findability Website ด้วย Web Standards

สวัสดี ไม่ได้พูดคำนี้นานเหมือนกัน วัน ๆ ผมตื่นมาแล้วก็เปิดคอมพิวเตอร์แล้วก็ทำงาน แล้วก็หายไปในสารระบบสารสนเทศ บางวันก็ลืมไปว่าเราต้องพบหน้าค่าตาใครเค้าบ้าง ก็เลยถือโอกาสสวัสดี กับการกลับมาของ ThaiCSS ในบ้านหลังใหม่ ระบบใหม่หวังว่าคงช่วยเหลือผู้ใช้ เพื่อน ๆ แฟน ๆ นักอ่านได้มากไม่ใช่น้อย ให้สมกับที่พรทุ่มเท อดหลับอดนอนสร้างระบบนี้ขึ้นมาใหม่

วันนี้ผมจะพูดถึงอะไร ผมจะพูดถึง Findability website ชื่อมันดูโก้เก๋ดีไหมครับ มันเป็นแนวคิดใหม่ของ Aaron Walter จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่อะไรใหม่ไปเลยทีเดียวเพียงแต่แนวคิดเหล่านี้ยังไม่มีใครบัญญัติชื่อให้มัน ลักษณะการทำงานของมันอย่างเป็นรูปธรรม ทีนี้เรามาดูกันว่า ไอ้ Findability Web มันคืออะไร ซึ่งโดยการทำงานของมันแล้วมันก็คือ Website ที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ใช้ให้

  • เจอ website ที่พวกเขาค้นหา
  • เจอ content ที่ต้องการใน website นั้น ๆ
  • หรือ รับรู้ถึงคุณค่า ของ content ใหม่ ๆ ที่พวกเขาค้นเจอ

web standard บนเวทีการเมือง

จากที่พรได้ส่งบทความ เสียงลือ เสียงเล่าอ้าง จาก Bruce Lawson ที่เขียนใน webstandards.org เกี่ยวกับ Web Standards ที่ได้ถูกนำเข้าไปบัญญัติเป็นกฏหมายของประเทศอังกฤษให้ผมได้ลองอ่านดูแล้ว มันทำให้อดนึกสะท้อนถึงสภาพการณ์ ณ เวลานี้ในประเทศเราหลาย ๆ อย่าง แต่ช่างมันพูดแค่ไอ้เรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นก็พอ

โดยสรุปแล้วนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ร่างกฏหมายเกี่ยวกับ Web Standards และ Guideline คร่าว ๆ ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะประกาศ “อย่างเร็วที่สุด” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะปล่อยออกมาจริง ๆ หรือไม่คงต้องเฝ้ารอดูกันต่อไป แต่แนวโน้มความเป็นไปได้คงจะสูง เพราะตอนนี้มีคำสั่งออกมาแล้วว่า website ใดใดก็ตามที่เป็นของรัฐบาลอังกฤษ (.gov.uk) นั้นจำเป็นจะต้องออกแบบ และ สร้างขึ้นตามมาตรฐาน WCAG 1.0 ของ W3 ที่บัญญัติไว้นั้นในระดับ Double-A (หรือ Level-AA) โดยทั้งหมดจะต้องปรับปรุงให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม 2551 และ จะขยายผลสู่ Website อื่น ๆ ต่อไป (เมื่อร่างกฏหมายนั้นถูกประกาศ) เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไร?

12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standard (จบ)

เมื่อคุณย่างก้าวที่จะเข้าสู่โลกของการ design แบบ tableless layout นั้น สิ่งที่คุณต้องคิดถึงไม่ใช่แต่เพียงคิดว่าจะจัดวาง container elements ของคุณอย่างไรแต่สิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามคือการจัดการ selector ของคุณด้วย

12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standards (2)

ข้อที่2: ทุกอย่างมันก็ไม่ได้เหมือนกันหมดไปเลยทีเดียว (ทั้ง ๆ ที่มันดูว่าเหมือนจะเหมือน) แล้วแต่ว่าคุณจะเผชิญกับปัญหาอะไร ที่เข้ามา

รู้กันใช่มั้ยครับว่าพอเราเริ่มทำเป็นแล้วมันมีเรื่องที่น่าเบื่อตามมาอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ปัญหาการ render การแสดงผลของในแต่ละ browser อีกซึ่งแต่ละ browser นั้นมีผู้พัฒนา และ มาตรฐานไม่เหมือนกันอีก เจอทีแรกผมก็สบถเลย แสดด … ทำไมมันไม่ทำมาให้มันเหมือน ๆ กันฟะ และ นั่นแหละที่ผมได้รู้จัก W3C และความฮิ … ของ browser บาง browser จุดเด่นความเก่งกาจของบาง browser ด้วย แม้นว่า W3C จะพยายามบัญญัติอะไรขึ้นมา มันก็พยายามทำอะไรที่เป็นตัวมันให้ได้สิน่า นั่นแหละ เหตุผลที่คุณต้องมานั่งเชค นั่ง hack นั่งปวดขมับปวดกบาล เพื่อให้มันแสดงผลได้เหมือนกันที่สุด (แต่ก็นะ ใช้ CSS Layout จะทำให้งานของเราแสดงผลได้แทบจะเหมือนกันเกือบ ๆ ทุก Modern Browser ฝรั่งเค้าบอกว่า 98% เชียวนะ ไม่รู้โม้ป่ะ) ทีนี้มันก็อยู่ที่เรา และ ลูกค้าของเราแล้วล่ะครับว่า requirement กันมาอย่างไร เพราะฉะนั้นคุณเองก็ต้องรอบคอบด้วยไม่ใช่ฆ่าตัวตาย เพราะงานตัวเอง

12 ข้อคิดสำหรับผู้ที่กลัว CSS และ Standards

ย้อนกลับไปเมื่อ 1 ปีเกือบ ๆ สองปี ที่แล้วที่ผมยังใหม่สำหรับ CSS-XHTML อยู่ มีอะไรหลายอย่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวปรับระบบความคิดต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง ด้วยความคุ้นชินกับการ design ในแบบ old school อยู่ ปัญหาของผมมันมีหลายอย่างมากมายมโหระทึกเลย จะเอาเจ้านี่ไว้ตรงนั้น แล้วจะเอาเจ้านั่นลอยไว้ตรงนี้ มันอะไรของมันนักหนาฟะ …

สารพัดจะสบถตามประสาคนปากจัดน่ะนะ เวลาคร่าว ๆ ในการปรับตัวให้คุ้นชินกับมันก็ประมาณเกือบ ๆ 5 เดือนเลยทีเดียว และ อีกประมาณ 2 – 3 เดือนสำหรับการปรับตัวให้หลุดพ้นจากการคิด การออกแบบในแบบเดิม ๆ (เป็นอิสรภาพจากตาราง) ถึงกระนั้นเวลา 1 ปี ผมก็ยังไม่ได้เข้าถึงขั้น advance coding เท่าไรนัก เพิ่งเริ่ม hand coding รวบรัดตัดตอนก็เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านนี้เท่านั้นเอง
มองไปยังสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน คุณจะเห็นว่า มีนักเขียนเก่ง ๆ หลาย ๆ ท่านที่มีประสบการณ์เขียนหนังสือดีดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ (แต่ยังไม่ใช่ในบ้านเรา) เขียนเกี่ยวกับ CSS เขียนเกี่ยวกับการออกแบบ การลำดับความคิด เกี่ยวกับการทำงานอย่างไรให้ถูกต้องเป็นไปตาม Standards จะมีใครบ้างที่เห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องท้าทาย และ น่าทดลองทำในบ้านเราบ้าง (แต่เป็นเรื่องน่ายินดี ที่ตอนนี้ website ใหญ่ ๆ ในไทยเริ่มเคลื่อนไหวกันแล้ว เช่น sanook.com (เฝ้ารอวัน debut ในเร็ววันนี้อย่างใจจดใจจ่อ), kapook.com, mThai.com, pantip.com และ อื่น ๆ ที่ผมยังไม่ได้ตรวจทานทั้งหมด

รู้จัก และ เข้าใจใน Web Standards 3 (จบ)


Part 3: คิด และ มองอย่าง ศิลปิน

ศิลปินถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิด และ ความรู้สึกของพวกเขา ผ่านความสวยงาม พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจ จากสิ่งต่าง ๆ บนโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา และ พวกเขาก็เป็นแรงบันดาลใจ ให้กับสิ่งต่าง ๆ อื่น ๆ ด้วย การออกแบบ website นั้นก็คือ ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองมาเรียบร้อยแล้วว่าเป็นประโยชน์, เป็นความคิดที่สื่อออกมาถึงผู้รับได้ และ ข้อมูลนั้นสามารถถ่ายทอด และ ดึงดูดเย้ายวนไปถึงผู้รับได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การออกแบบโครงร่างภายนอก คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถทางศิลป์ล้วน ๆ การคิดคำนึงถึงภาพที่เราจะออกแบบมาให้สวยงามวาด หรือ ออกแบบ อย่างไรออกมาให้สวยมันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำ แต่การนำมาใช้กับการทำ website นั้นมันต้องคิดลึกซึ้งไปกว่านั้น เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงแต่ภาพที่เราวาดออกมาเพียงเท่านั้น มันไม่ได้มีไว้เพื่อดูเพียงตาเปล่า หากทว่ามันมีส่วนที่จับต้องได้ นำไปใช้ต่อได้ เช่น ภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ของข้อมูล content ต่าง ๆ ที่เป็นตัวหนังสือที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อ เช่น เก็บไว้อ่านเก็บไปอ้างถึงได้

Back to Top