web standard บนเวทีการเมือง

จากที่พรได้ส่งบทความ เสียงลือ เสียงเล่าอ้าง จาก Bruce Lawson ที่เขียนใน webstandards.org เกี่ยวกับ Web Standards ที่ได้ถูกนำเข้าไปบัญญัติเป็นกฏหมายของประเทศอังกฤษให้ผมได้ลองอ่านดูแล้ว มันทำให้อดนึกสะท้อนถึงสภาพการณ์ ณ เวลานี้ในประเทศเราหลาย ๆ อย่าง แต่ช่างมันพูดแค่ไอ้เรื่องที่มันเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้นก็พอ

โดยสรุปแล้วนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ร่างกฏหมายเกี่ยวกับ Web Standards และ Guideline คร่าว ๆ ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะประกาศ “อย่างเร็วที่สุด” ในวันที่ 13 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งจะปล่อยออกมาจริง ๆ หรือไม่คงต้องเฝ้ารอดูกันต่อไป แต่แนวโน้มความเป็นไปได้คงจะสูง เพราะตอนนี้มีคำสั่งออกมาแล้วว่า website ใดใดก็ตามที่เป็นของรัฐบาลอังกฤษ (.gov.uk) นั้นจำเป็นจะต้องออกแบบ และ สร้างขึ้นตามมาตรฐาน WCAG 1.0 ของ W3 ที่บัญญัติไว้นั้นในระดับ Double-A (หรือ Level-AA) โดยทั้งหมดจะต้องปรับปรุงให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ธันวาคม 2551 และ จะขยายผลสู่ Website อื่น ๆ ต่อไป (เมื่อร่างกฏหมายนั้นถูกประกาศ) เหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไร?

พิจารณากันแค่ภายในประเทศของเขา

ก็คงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ผมว่าน่าจะสำคัญเลยล่ะ แต่คงไม่เดือดร้อนอะไรกันมากนักเพราะ web standards นั้นเริ่มกันมานานแล้วในบ้านเมืองเขานั้น ผู้ผลิตหรือพัฒนา software สำเร็จรูปต่าง ๆ อย่างพวก CMS ทั้งหลายคงต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้าง software ของพวกเขากันหน่อย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า CMS ของพวกเขานั้นสามารถจัดการ และ ทำให้เนื้อหาใน website ต่าง ๆ ที่นำ CMS ของพวกเขาไปใช้ หรือ พัฒนาต่อนั้นจะผ่าน Level-AA ขึ้นไปแน่นอน เพราะคงไม่มีใครมานั่งเขียนตาม requirement ใหม่ไปเรื่อย ๆ แน่ ๆ และ ประชาชนตาสารพัดสีของเขาเนี่ยที่อยากจะทำ website หรืออยากจะมี website เป็นของตัวเองก็จะได้นำไปใช้อย่างมั่นใจว่า website ที่ฉันทำเนี่ยจะไม่ถูกซิว รวมถึงผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่เป็น e-… ต่าง ๆ หรือจะเป็น blog, community และ อื่น ๆ ก็คงต้องปรับกันให้เสร็จสิ้น

พิจารณากันในแง่ของเวทีโลก

เกี่ยวกับธุรกิจคงกระทบกันหมดแน่นอน ไม่ว่าคนที่ทำงานให้บริษัทที่อังกฤษ freelance หรือ บริษัทต่าง ๆ ที่ทำงานในฟิลด์นี้ หรือ นอกฟิลด์ก็เถอะ (ก็เปิด website นี่นา) ก็คงต้องปรับเปลี่ยนปรับปรุงฝีมือการทำงาน ปรับปรุง website โอยยย … สารพัด แล้วอย่างไร เมื่อเกิดผลกระทบทางธุรกิจ เมื่อมีการนำร่องในการออกกฏหมายคุณคิดไหมว่าใครจะตาม ตอนนี้อาจจะเป็นประเทศญี่ปุ่นก็ได้ เพราะตอนนี้ญี่ปุ่นนั้นคลั่งมากไม่ว่าอะไรก็ต้องเป็น Standard ตลาด Web กำลังเดือดพล่านตัดราคากันสะบั้นหั่นแหลก ลูกค้าก็ไม่รู้หรอก Standard แท้ หรือ Standard เก๊ แต่เมื่อมี W3C ที่ญี่ปุ่นแล้วเนี่ย และ ประเทศอังกฤษก็ออกกฏหมายแล้วเนี่ย ผมว่าญี่ปุ่นตามมาแน่นอนจากนั้นก็คงจะตาม ๆ กันไปในหลาย ๆ ประเทศ

ทำไม?

ทำไม … เพราะอะไรถึงต้องทำ มองในแง่ จริยธรรม ศีลธรรม จรรณยา คือ เขาเล็งเห็นความสำคัญของประชาชน เขาเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เขามองเห็นอะไรดีดีที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ซึ่งคุณเคยคิดไหมว่า เราเห็นฝรั่งมันชอบทำตัวบ้า ๆ บอ ๆ หรือ ญี่ปุ่นมันงี่เง่าอะไรแค่ไหน แต่สิ่งที่ผมมองเห็นได้คือ จริยธรรม หรือ ศีลธรรมในใจเขาจะดีกว่าผู้ใหญ่ หรือ วัยรุ่น หลาย ๆ คนในบ้านเรา (หมายถึงสภาพสังคมนะ ผมไม่ได้หมายรวมเสียหมดนะครับ) มาหันมองทางรัฐบาลบ้างสิ เช่นกัน ทุก ๆ อย่างจะเริ่มจากรัฐบาล รัฐบาลทำให้เห็นก่อน แล้วขยายผล ไปสู่ภาคเอกชน ประชาชน รัฐบาลทำให้เห็น ไม่เหมือนประเทศฉันนี้ และ อื่น ๆ อีกยืดยาวบ่นเอาจจะง่ายกว่าพิมพ์มันเมื่อยนิ้ว

เมื่อไรจะเปลี่ยนแปลง

กระทรวง ICT แท้ ๆ website เปิดใน Internet Explorer เองจะรอดมั้ยยังต้องนั่งลุ้นกันตัวโก่งเลย คงไม่ต้องพูดถึง website อื่น ๆ คงไม่ต้องพูดถึงไอ้นักการเมืองทั้งหลายที่มันจ้องจะคาบภาษีประชาชน วัน ๆ คุณนั่งคิดอะไรกันบ้าง พูดมากกว่าทำ (จะโดนจับหรือเปล่าวะกู) อย่ามัวแต่ห่วงย้ายพรรค แลกตัว แลกตำแหน่ง หรือ จะปราศรัยแก้จนเอย่างเดียวเลยครับ มองปัญหาบ้านเมืองบ้างว่ามีอะไร และ มองเรื่องการพัฒนาการศึกษากันเสียบ้าง (ด้วยได้ไหม คิดอะไรให้มันก้าวหน้า ต่อยอดบ้างอย่าสอนให้เด็กโง่ พัฒนาบุคคลากรบ้าง) ลูกหลาน เหลนโหลน เราจะเป็นอย่างไร เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ เด็กสมัยใหม่นี่ เริ่มขี้เกียจกันมากขึ้น ใช้สมองกันน้อยลง “ขอ” เป็นส่วนใหญ่ ก้าวร้าว รุนแรง ศีลธรรม จริยธรรมเบื้องต้นมันเริ่มหายจากไป จะทำอย่างไร การใช้สื่อที่ไม่ถูกต้อง การเห็นแก่ได้มากกว่าคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด (อารมณ์ประมาณว่า ช่างแม่งเด่ะ ไม่ใช่ลูกหลานกู หรือ ช่างเหอะน่า เอาพอส่ง ๆ ไปก่อน พอสั่งแก้แล้วค่อยทำ) ให้มันได้แบบนี้ มันจะได้เจริญ ๆ กัน

ผมก็แค่เขียนขึ้นมาให้รับทราบ รับฟัง ช่วยกันออกความเห็นกันในระดับหนึ่ง คงมีอีกหลายคนที่มองว่าคงเป็นเพียงเรื่องไร้สาระเรื่องหนึ่ง ตอนนี้คุณอาจจะยังบอกแบบนั้นได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นจริงตลาดงานของเราก็คงจะแคบลงเข้าไปอีก แคบเข้าไปอีกเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ลด ego ลงบ้าง หรือ คนที่ทำ css xhtml ได้แล้วบ้าง หากมองว่าแค่นี้ฉันก็พอแล้ว ทำได้แล้ว โดยไม่ศึกษาอะไรเพิ่มเติมเลย เอาเพียงแต่เทคนิค ไม่ศึกษาเข้าไปถึงแก่นอย่างจริงจัง (ไม่ต้องลึกมากถึงขนาดอ่านไปเสียทั้งหมด เข้าใจ concept หรือ guideline ง่าย ๆ ที่เขาทำให้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว) คงจะลำบากในเวทีโลก ถ้าคุณทำงานโดยที่ไม่เข้าใจ concept คุณก็คงต้องรอ guideline จากผู้บังคับบัญชา ถ้าไม่มีผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาไม่รู้ ถ้าไม่มี guideline คุณจะทำอย่างไร … รอขอคนอื่นสอน? ช่างเหอะเด๋วได้ทำค่อยทำ? หรือ เริ่มวันนี้ วันละนิดละน้อย ศึกษาด้วยตัวเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันช่วยกันพัฒนา เพราะมันเปลี่ยนกันบ่อย จะค่อย ๆ จมลงไป หรือ จะเดินเท่าเดิมไปเรื่อย ๆ หรือ อยากเป็นคนหนึ่งที่วิ่งเร็วกว่าใคร ๆ เขา ก็ลองพิจารณากันดู

สุดท้ายผมขออนุญาต ฝากอีกเรื่อง หนังสือ xhtml ของสำนักพิมพ์หนึ่ง ผมขอให้เลิกขายเถอะครับ สงสารเยาวชนบ้างเถอะ ถ้าจะให้ก็ให้ในสิ่งที่ถูกต้องเถอะครับ อย่าหวังแต่ได้อย่างเดียวเลย เพื่อบุคคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต

กราบขอบพระคุณ และ เรียนไว้เพื่อพิจารณา

Back to Top

28 Responses to web standard บนเวทีการเมือง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top