accessibility หน้าที่เรา ไม่ใช่หน้าที่ใคร | ประวัติ และ การเตรียมตัว สำหรับการทำ web accessibility

ณ เวลานี้รัฐบาลของในหลาย ๆ ประเทศในโลกได้มีการกำหนดนโยบายให้ทำ website ของรัฐบาลตาม accessibility guidelines ของ W3C กันหลายประเทศแล้ว เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชากรภายในประเทศของเขา (หมายถึง ทั้งคนพิการทางสายตา หรือ ทางหูด้วย) เพื่อการเข้าถึง website ได้ในทุก ๆ อุปกรณ์ที่สามารถใช้เทคโนโลยีร่วมกันได้ ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงบ้านเราอีก เพราะได้เขียนไปแล้วในบทความ web standards บนเวทีการเมือง ในบทความนี้ผมจะเล่าประวัติของ accessibility เท่าที่ได้อ่าน ได้ศึกษามา สรุปเท่าที่พอจะรู้ ถูกไม่ถูกอย่างไร ใครจะเสริมก็เชิญซัดกันได้เลยเต็มที่เลยนะครับ

เกี่ยวกับ accessibility โดยสังเขป

สรุปใจความง่าย ๆ ของ web accessbility ก็คือ

"user ทุกคนสามารถเข้าถึง website ของเรา ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้"

นั่นหมายถึงอะไรครับ หมายถึง เราจะทำอย่างไรให้ website ของเราเอื้อประโยชน์ให้กับ user ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ หรือ ไม่ว่าจะการเข้าชมด้วยอุปกรณ์ หรือ โปรแกรมใดใด ลองมองย้อนกลับไปในประมาณ 11 ปีที่แล้ว (สมัยเรียนม. 5) ที่แทบจะไม่มี website ใดเลยที่สร้างขึ้นมาแล้วผ่าน web standards ทั้ง ๆ ที่ web standards นั้นก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นเพราะอะไรนั้นคงทราบกันดี จนกระทั่งประมาณปี 2002 ก็เริ่มมีการนำมาใช้กันบ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย จนถึงในปี 2006 หรือ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ในต่างประเทศนั้นเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความรู้แก่ประชาชน บุคคลากรทั้งภาครัฐ และ เอกชนให้ตระหนักถึง web standards การนำ web standards เข้ามาใช้ในการออกแบบ และ พัฒนา website โดยเริ่มจากองค์กรของรัฐก่อน ตัวอย่างประเทศที่มีการใช้ web standards กับ website ของหน่วยงานของรัฐบาลมีดังนี้ สหรัฐอเมริกา, จีน, อังกฤษ, สวีเดน, ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ (เท่าที่ผมพอจะค้นมาได้นะครับ) ซึ่งประเทศต่อไปที่ผมคาดเอาไว้น่าจะเป็น ญี่ปุ่น (ไทย ก็ทำแล้วนะครับ ทำแต่ปาก) ถึงตรงนี้ อาจจะงงกัน หรือไม่ว่าทำไมถึงเอา แต่ web standards มาใช้ web standards = web accessibility อย่างนั้นเหรอ? ไม่ใช่นะครับ web standards จะก่อให้เกิด web accessibility และ การ validate จะเป็นการประเมินว่าเราสามารถทำให้เกิด web accessibility ได้มากเท่าไหร่

ประโยชน์ของ web accessibiliy ไม่ได้มีเพียงแต่เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลของ user เพียงเท่านั้นหากยังทำให้เราได้ฝึกการทำ SEO (white hat) ไปในตัวด้วย ซึ่งน่าจะทราบกันแล้วว่ายิ่งคุณทำ web ให้เกิด web accessiblity ได้มากเท่าไหร่ผลลัพธ์ทาง SEO ก็จะสูงตามไปด้วย (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : SEO ผลพลอยได้จากการทำ Website ให้เกิด Accessibility สูง ๆ และ  XHTML CSS เพื่อประโยชน์ทาง SEO อย่างแท้จริง) ในการทำงานจริง ๆ นั้นอาจจะมีความจำเป็น หรือ ปัจจัยหลาย ๆ อย่างมาเกี่ยวข้องด้วยในการพัฒนา หรือ ออกแบบ website ใช่ว่าจะต้องทำให้มันผ่าน validate ของ standards ทั้งหมดเสมอไป แต่การทำให้เกิดการ error หรือ warning ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้นก็ถือว่าเป็นการทำให้เกิด web accessibility เช่นกัน เพราะการใช้งานจริง ๆ นั้นอาจจะมีข้อจำเป็น หรือ ข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถทำตาม web standards ได้จริง ๆ ทั้งหมด

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ บุคคลากร ของรัฐบาล หรือ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ออกแบบ ผุ้พัฒนา website อย่างพวกเราต้องตระหนัก และ เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ด้วย และ ฝึกฝนตนเองให้สามารถสร้างผลงานออกมาให้ สนับสนุน web standards ให้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้เกิด web accessibility ไปด้วย

note: web standards ที่เกี่ยวข้องกับ web accessibility คือ web accessibility guideline ซึ่ง web accessibility guideline นี้ ก็จะโยงใยไปสู่ standards ตัวอื่น ๆ ด้วย

ทีนี้เรามาดูการเตรียมตัวสำหรับการทำ web accessibility กัน

เครื่องมือนี้อ้างอิงจากเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานของผมนะครับ

  1. FireFox
  2. Web Developer Tools (extension ของ FireFox)
  3. FireBug (extension ของ FireFox)
  4. browsers ทุกค่าย เท่าที่อยากจะเอามาทดสอบ (การแสดงผล)

เครื่องมือเหล่านี้เอาไว้ใช้ในการตรวจสอบทดสอบแก้ไข เวลาทำงานของผมนะครับ เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้ดี หรือ ยังไม่คุ้นเคยให้ลองโหลดมาติดตั้งดู แล้วลองทำความคุ้นเคยกับมันเสีย (ขอเสียมารยาทไม่อธิบายการใช้งานนะครับ ผมเชื่อว่าน่าจะศึกษาเองได้) จาก 4 ข้อข้างบนอาจจะเพิ่มเป็น text based browser อย่าง lynx หรือ พวก screen reader ต่าง ๆ (ภาษาไทยคง ทดสอบกับ screen reader ไม่ได้เพราะว่ายัง ไม่มี namespace ภาษาไทย) และ เมื่อเราได้ตระเตรียมเครื่องมือ โดยครบครันแล้วเราก็จะพร้อมเจอกันในบทความต่อไปครับ

Back to Top

0 Responses to accessibility หน้าที่เรา ไม่ใช่หน้าที่ใคร | ประวัติ และ การเตรียมตัว สำหรับการทำ web accessibility

Leave a Reply to โดม Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Back to Top